Page 3 - รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย สค31001
P. 3
1. พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475
2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475
3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489
4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490
5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492
6. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช2495
7. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502
8. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511
9. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515
10. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517
11. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519
12. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520
13. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521
14. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534
15. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534
16. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
17. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549
18. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย พุทธศักราช 2550 (ฉบับปัจจุบัน)
2. หลักการและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
จากการศึกษาความเป็นมาของรัฐธรรมนูญนั้นพบว่า มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลง การปกครองมาตั้งแต่ปี
พ.ศ.2475 และไม่ว่าจะเกิดการปฏิวัติรัฐประหารกี่ครั้งก็ตามกระแสการเรียกร้องให้มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
และเรียกร้องให้รัฐธรรมนูญมีความเป็นประชาธิปไตย ก็เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีวิวัฒนาการมาตามล าดับ หากศึกษาถึง
มูลเหตุของการเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองและประกาศใช้รัฐธรรมนูญในประเทศไทยนั้น พบว่าการ
ประกาศใช้รัฐธรรมนูญมีเป้าหมายส าคัญอย่างน้อย 2 ประการ คือ
1. เป็นหลักประกันในเรื่องสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ซึ่งผู้ปกครองจะละเมิดมิได้
2. เป็นบทบัญญัติที่กล่าวถึงขอบเขตอ านาจหน้าที่ของผู้ปกครอง และป้องกันมิให้ผู้ปกครองใช้อ านาจตามอ าเภอใจ
ดังนั้น ในการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับ คณะผู้ยกร่างจึงได้เขียนหลักการ และเจตนารมณ์ในการจัดท าไว้
ทุกครั้ง ซึ่งหลักการและเจตนารมณ์ทคณะผู้ยกร่างเขียนไว้นั้นช่วยให้คนรุ่นหลังได้มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาที่มาของ
ี่
รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับว่า มีมาอย่างไรรวมทั้งสภาพสังคมในช่วงเวลานั้นด้วย ซึ่งในที่นี้จะขอยกตัวอย่างหลักการและ