Page 243 - รวมเล่มข้อบังคับ ระเบียบ 2566
P. 243
236
~ 3 ~
(3) บิดาหรือมารดาของผู้มีสิทธิได้รับเงิน
ช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล
“เงินสมทบ” หมายความว่า เงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม
“บัตรสุขภาพ” หมายความว่า การดำเนินการหรือการประกันสุขภาพที่ทาง
ราชการเป็นผู้ดำเนินการ
ข้อ 5 ให้สหกรณ์ (นายจ้าง) และเจ้าหน้าที่และลูกจ้าง (ลูกจ้าง) ส่งเงินสมทบเข้ากองทุน
ประกันสังคมฝ่ายละเท่ากัน ตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
ั
ข้อ 6 ให้เจ้าหน้าที่และลูกจ้างสหกรณ์ เบิกค่ารักษาพยาบาลของตนเอง จากสำนักงานประกนสังคม
จังหวัดนครสวรรค์ ตามที่กองทุนประกันสังคมได้จัดสวัสดิการเรื่องค่ารักษาพยาบาลไว้
ข้อ 7 ให้เจ้าหน้าที่และลูกจ้าง จัดทำบัตรสุขภาพ ให้แก่บุคคลในครอบครัวเป็นรายปี และให้ใช้
สวัสดิการ ค่ารักษาพยาบาลฟรีจากสถานพยาบาลตามที่กำหนดไว้ในบัตร
สำหรับค่าจัดทำบัตรสุขภาพบุคคลในครอบครัว ให้เบิกได้จากสหกรณ์
ข้อ 8 ในกรณีที่บุคคลในครอบครัวของเจ้าหน้าที่และลูกจ้าง มีสิทธิหรือได้รับเงินค่ารักษาพยาบาล
จากหน่วยงานอื่นแล้ว ผู้นั้นไม่มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลตามระเบียบนี้
ข้อ 9 ในกรณีที่ค่ารักษาพยาบาลของตนเองหรือบุคคลในครอบครัว มีจำนวนเกินกว่าสิทธิที่ได้รับ
จากหน่วยงานอื่น ตามข้อ 6 และข้อ 7 ก็ให้สามารถเบิกส่วนที่ยังขาดอยู่จากสหกรณ์ได้ แต่ทั้งนี้ต้องเป็นไปตาม
สิทธิที่กำหนดไว้ในข้อ 10 – ข้อ 13
ข้อ 10 การขอรับเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลสำหรับตนเองหรือบุคคลในครอบครัว ในกรณีที่สามี
และภรรยาต่างก็เป็นเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูนครสวรรค์ จำกัด ให้สามีเป็นผู้มีสิทธิได้รับ
เงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลตามหลักเกณฑ์ในข้อ 11
ข้อ 11 การจ่ายเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตราดังนี้
11.1 ผู้ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลของทางราชการ ทั้งประเภทผู้ป่วย
ภายนอก หรือผู้ป่วยภายใน ให้เบิกค่ายาได้เฉพาะยาที่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติที่
คณะกรรมการแห่งชาติด้านยากำหนด หากผู้ป่วยประสงค์จะใช้ยานอกบัญชียาหลัก
แห่งชาติ จะต้องรับภาระค่ายาดังกล่าวเอง เว้นแต่กรณีที่ผู้ป่วยมีความจำเป็นต้องใช้ยา
นอกบัญชียาหลักแห่งชาติ ให้คณะกรรมการแพทย์ที่ผู้อำนวยการสถานพยาบาล
แต่งตั้งเป็นผู้วินิจฉัยและออกหนังสือรับรองให้เพื่อใช้ประกอบการเบิกจ่าย
ิ
11.2 กรณีค่าบริการซึ่งเป็นค่าธรรมเนียมพเศษที่สถานพยาบาลเรียกเก็บ เพอจ่ายเป็น
ื่
ค่าตอบแทนพิเศษของแพทย์ผู้ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ให้เจ้าหน้าที่และลูกจ้างผู้มี
สิทธิรับผิดชอบจ่ายค่าบริการดังกล่าวเอง
11.3 ค่าเตียงสามัญและค่าอาหาร ให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินวันละ 200 บาท โดย
ไม่จำกัดจำนวนวัน
11.4 ค่าห้องและค่าอาหาร นอกจากข้อ 11.3 ให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินวันละ 600
บาท เป็นระยะเวลาไม่เกิน 13 วัน ส่วนที่เกินกว่านั้น ผู้มีสิทธิจะต้องรับภาระเอง เว้น
แต่กรณีที่คณะกรรมการแพทย์ที่ผู้อำนวยการสถานพยาบาลแต่งตั้งวินิจฉัยว่า
จำเป็นต้องรักษาเกินกว่า 13 วัน ให้เบิกค่าห้องและค่าอาหารได้ตามจำนวนวันที่
คณะกรรมการแพทย์วินิจฉัย และออกหนังสือรับรองให้เพื่อใช้ประกอบการเบิกจ่าย