Page 193 - หลักสูตรนักบริหารมหานครระดับกลาง รุ่นที่ 26...
P. 193
180
6. มหานครแห่งเศรษฐกิจและการเรียนรู้
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ความสำคัญและที่มาของปัญหา
การท่องเที่ยวมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ จากผลการสำรวจสุดยอด
จุดหมายปลายทางโลกของ Mastercard Global Destination Cities Index ๒๐๑๘ พบว่า
กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเป็นอันดับ ๑ ของโลก ดังนั้นทั้ง
ภาครัฐบาลและหน่วยงานต่างๆจึงได้ให้ ความสำคัญกับการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวทุกระดับ
ทั้งในด้านการพัฒนาสินค้าและบริการ การพัฒนา แหล่งท่องเที่ยว การพัฒนาสิ่งอํานวยความสะดวก
การเพิ่มพูนทักษะและองค์ความรู้ของบุคลากรสร้างการจ้าง งาน และเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับ
ประชาชนในท้องถิ่น ในฐานะที่กรุงเทพมหานครเป็นองค์กรส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีแผนพัฒนา
กรุงเทพมหานคร ระยะ ๒๐ ปี กำหนดวิสัยทัศน์ของกรุงเทพฯ ๒๕๗๕ ว่า “กรุงเทพฯมหานคร แห่ง
เอเซีย Bangkok :Vibrant of Asia” ซึ่งประกอบด้วยวิสัยทัศน์ ๗ ด้าน ในวิสัยทัศน์ด้านที่ ๖ ของ
กรุงเทพฯ คือ มหานครแห่งเศรษฐกิจและการเรียนรู้ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๒๕ ศูนย์กลางการแพทย์
และการท่องเที่ยวเชิง การแพทย์ และยุทธศาสตร์ที่๒๖ ศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและ
วัฒนธรรม ในฐานะที่การท่องเที่ยว เป็น กลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ และพบว่า
เมืองหลวงของกรุงเทพฯ เป็นที่นิยมของ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ เพื่อเป็นการกระจายตัวของ
นักท่องเที่ยวสู่ชุมชนรอบนอกและแก้ปัญหาการรวมตัวของ นักท่องเที่ยว จึงได้ศึกษาถึงแหล่ง
ท่องเที่ยวอื่น ๆ ในเขตกรุงเทพฯ และรูปแบบการท่องเที่ยวในรูปแบบต่าง ๆ จากการศึกษาของสำนัก
วัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานครพบว่ากรุงเทพฯ มี ๗ ย่านชุมชน ประวัติศาสตร์ที่
มีทรัพยากรการท่องเที่ยวที่มีคุณค่าและน่าสนใจ ได้แก่ ย่านบางลำพู ย่านเสาชิงช้า ย่านนางเลิ้ง ย่าน
บ้านบุ ย่านคลองบางระมาด ย่านตลาดน้อย-บางรัก และย่านหัวตะเข้-ลาดกระบัง และรูปแบบการ
ท่องเที่ยว ในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ การท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติ การท่องเที่ยวในแหล่งวัฒนธรรม
และการท่องเที่ยวใน ความสนใจพิเศษ เช่น การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การท่องเที่ยวเชิงทัศนศึกษา
ฯลฯ เมื่อนำข้อมูล ทั้งรูปแบบ การท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยวที่มีในกรุงเทพฯมาวิเคราะห์ พบว่า ๗
ย่านดังกล่าวมีรูปแบบการท่องเที่ยวใน แหล่งวัฒนธรรม อันประกอบด้วยการท่องเที่ยวเชิง
ประวัติศาสตร์และชมวัฒนธรรมและประเพณีโดยมีประชาชน ในท้องถิ่นมีส่วนร่วมต่อการจัดการ
ท่องเที่ยวเป็นหลัก จึงเกิดแนวคิดทางการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่โดยการผสาน รูปแบบการท่องเที่ยวใน
แหล่งวัฒนธรรมร่วมกับการท่องเที่ยวในความสนใจพิเศษ คือ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นจึงได้เสนอ โครงการ “กรุงเทพฯ วิถีใหม่ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและ
วัฒนธรรมย่านหัวตะเข้” ขึ้น ซึ่งการท่องเที่ยวในรูปแบบดังกล่าวยังไม่เคยเกิดขึ้นในกรุงเทพฯจึงนับได้
ว่าเป็นการ ท่องเที่ยวแบบวิถีใหม่ เพื่อเป็นโครงการนำร่องการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของกรุงเทพฯ ทาง
คณะผู้จัดทำจึงได้ ทำการค้นคว้าข้อมูลของสภาพพื้นที่ที่จะนำมาพัฒนาโครงการทั้ง ๗ ย่าน โดยพบว่า