Page 196 - หลักสูตรนักบริหารมหานครระดับกลาง รุ่นที่ 26...
P. 196

183






                                                            6.๑ บทนำ

                        (๑) ข้อมูลทั่วไป
                              สำนักงานเขตลาดกระบัง เป็นเขตการปกครองที่มีพื้นที่มากที่สุดเป็นอันดับที่ ๒ ของ

                       กรุงเทพมหานคร (รองจากเขตหนองจอก) พื้นที่ทั้งหมด ๑๒๓.๙ ตารางกิโลเมตร แบ่งพื้นที่การ
                       ปกครอง  ๖ แขวง  ประกอบด้วย  แขวงลาดกระบัง  แขวงคลองสามต้นนุ่น  แขวงคลองสามประเวศ
                       แขวงทับยาว  แขวงลำปลาทิว และแขวงขุมทอง มีจำนวนบ้าน ๙๗,๖๖๕ หลัง มีประชากรทั้งหมด

                       ๑๗๘,๖๐๔ คน เป็นชาย ๘๕,๐๑๒ คน เป็น หญิง ๙๓,๕๙๒ คนสภาพโดยทั่วไปเป็นท้องทุ่ง มีแหล่ง
                       ชุมชนหนาแน่นทางทิศใต้และมีเขตนิคมอุตสาหกรรมทาง ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพื้นที่ เขต

                                         ิ
                       ลาดกระบังตั้งอยู่ทางทศตะวันออกของกรุงเทพมหานคร มีอาณาเขตติดต่อ กับเขตการปกครอง
                       ข้างเคียง เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตมีนบุรีและเขตหนองจอก มีคลอง ลำนาย

                       โส คลองสองต้นนุ่น ลำรางคอวัง ลำรางศาลเจ้า คลองตาเสือ แนวคันนาผ่านถนนคุ้มเกล้า ลำรางตา
                       ทรัพย์ คลองบึงใหญ่ คลองลำกอไผ่ คลองลำมะขาม คลองลำพะอง คลองกระทุ่มล้ม คลองลำตาอิน

                       และคลองลำตาแฝง เป็นเส้นแบ่งเขต ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา (จังหวัด
                                              ่
                       ฉะเชิงเทรา) มีคลองหลวงแพงและคลอง ประเวศบุรีรมย์เป็นเส้นแบ่งเขต ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอบาง
                       บ่อ อำเภอบางเสาธง และอำเภอบางพลี (จังหวัด สมุทรปราการ) มีแนวแบ่งเขตการปกครองระหว่าง

                       กรุงเทพมหานครกับจังหวัดสมุทรปราการเป็นเส้นแบ่งเขต  ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตประเวศ และ
                       เขตสะพานสูง มีคลองตาพุก คลองแม่จันทร์ คลองบึงขวาง และคลองลาดบัวขาว เป็นเส้นแบ่งเขต

                       (๒)  ภารกิจหลักของสำนักงานเขตลาดกระบัง

                              มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานการปกครอง การทะเบียน การจัดทำแผนพัฒนาเขต การจัดให้มี
                       และ บำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ การจัดให้มีและควบคุมตลาดท่าเทียบเรือ ท่าข้าม

                                                                  ื่
                       และที่จอดรถ  การสาธารณูปโภค และการก่อสร้างอน ๆ การสาธารณูปการ การส่งเสริมการฝึก และ
                       ประกอบอาชีพ การส่งเสริม การลงทุน การส่งเสริมการท่องเที่ยว การจัดการศึกษา การสังคม

                       สังเคราะห์ การพัฒนาคุณภาพชีวิต  การบำรุงรักษา ศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และ
                                                                                           ั
                       วัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น การจัดให้มีพิพิธภัณฑ์  การปรับปรุง แหล่งชุมชนแออดและการจัดการ
                       เกี่ยวกับที่อยู่อาศัย การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ การส่งเสริมกีฬา การส่งเสริม
                       ประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน การส่งเสริมการมี ส่วนร่วมของราษฎร
                       การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง การสาธารณสุข  การอนามัย

                       ครอบครัว การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน การควบคุมการเลี้ยงสัตว์ การจัดให้มีและ
                       ควบคุมการฆ่าสัตว์ การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและการอนามัย โรงมหรสพ

                       และ สาธารณสถานอื่น ๆ การคุ้มครอง ดูแลบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากที่ดิน
                       ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม การผังเมือง การวิศวกรรมจราจร การดูแลรักษาที่สาธารณะ

                       การควบคุมอาคาร การป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัย  การส่งเสริมและสนับสนุน การป้องกันและ
                       รักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน  การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่าง ๆ การจัดเก็บรายได้
   191   192   193   194   195   196   197   198   199   200   201