Page 212 - หลักสูตรนักบริหารมหานครระดับกลาง รุ่นที่ 26...
P. 212

199






                       ประวัติศาสตร์เชิงวัฒนธรรมและประเพณี โดยมีประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยว
                       จึงเกิด แนวคิดทางการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่โดยการผสานรูปแบบการท่องเที่ยวในแหล่งหย่อนใจ มี
                       การรับคำปรึกษาด้านการดูแลสุขภาพและจิตใจอย่างถูกวิธี การนวด/อบ/ประคบสมุนไพร ยังรวมไป

                       ถึงอาหารเพื่อสุขภาพและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพเป็นต้น
                              การดำเนินการดังกล่าวสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ.๒๕๖๑ - ๒๕๘๐) ประเด็น

                       ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ๔.๓ สร้างความหลากหลายด้านการ
                       ท่องเที่ยว โดย รักษาการเป็นจุดหมายปลายทางที่สำคัญของการท่องเที่ยวระดับโลก ที่ดึงดูด

                       นักท่องเที่ยวทุกระดับและเพิ่ม สัดส่วนของนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพสูง และสอดคล้องกับแผนพัฒนา
                       กรุงเทพมหานคร ระยะ ๒๐ ปี ด้านที่ ๖ มหานครแห่งเศรษฐกิจและการเรียนรู้ ประเด็นยุทธศาสตร์

                       การเป็นศูนย์กลางการแพทย์และการท่องเที่ยวเชิง การแพทย์ และการเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิง
                       นิเวศและวัฒนธรรม และสอดคล้องกับนโยบายของผู้ว่า ราชการกรุงเทพมหานคร ๕ นโยบายทันใจ
                       นโยบายวิถีพอเพียง (common ways of living) ภูมิใจในรากฐาน ไทย พอใจในความเป็นอยู่ และ

                                                                                                       ั
                       สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของเขตลาดกระบัง “เมืองน่าอยู่สู่สากล ประชาชนสุขกาย สุขใจ” และ   พนธ
                       กิจ การส่งเสริมให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ตระหนักถึงศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม  ส่งเสริม

                       ให้ประชาชนมีสภาพเศรษฐกิจ และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น  และยังเป็นโครงการ กิจกรรมสนับสนุน
                       แผนงานการท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานคร ดังนั้น คณะผู้จัดทำจึงเสนอโครงการ “กรุงเทพฯวิถีใหม่

                       ท่องเที่ยวเชิง สุขภาพและวัฒนธรรม” ขึ้น ซึ่งเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวในเชิงสุขภาพที่ยังไม่เคย
                       เกิดขึ้นในกรุงเทพฯจึงนับได้ว่า เป็นการท่องเที่ยวแบบวิถีใหม่ และยังเป็นโครงการนำร่องการ

                       ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของกรุงเทพฯ ต่อไป

                              ๒. วิธีการศึกษาสภาพปัญหา
                                     ๒.๑ พื้นที่ที่ทำการศึกษา

                                     ขอบเขตพื้นที่ที่ศึกษาบริเวณแหล่งท่องเที่ยวย่านหัวตะเข้และพื้นที่ต่อเนื่อง เขต
                       ลาดกระบัง โดยดำเนินการเป็นพื้นที่นำร่อง ในพื้นที่ ๗ ย่านประวัติศาสตร์ ที่สำนักวัฒนธรรม กีฬา
                       และการท่องเที่ยวได้มี การคัดเลือก "ย่าน" ในการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร

                                                                                                   ื้
                       เนื่องจากย่านหัวตะเข้เขตลาดกระบัง เป็นพื้นที่สำคัญในการรองรับนักท่องเที่ยวที่เข้าพนที่โซน
                       ตะวันออกของกรุงเทพมหานคร อยู่ใกล้ สนามบินสุวรรณภูมิ และมีความพร้อมด้านกายภาพ ด้าน

                       บุคลากรในชุมชน และการส่งเสริมและสนับสนุนจาก หน่วยงานของรัฐ
                                     ๒.๒ การลงพื้นที่ศึกษา และวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

                                            ๒.๒.๑ ศึกษาข้อมูลจากเอกสาร
                                                   - ศึกษาข้อมูลจากรายงานวิจัยโครงการพัฒนาย่านประวัติศาสตร์

                       เมืองสู่การท่องเที่ยวเชิง สร้างสรรค์  กิจกรรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาแหล่ง
                       ท่องเที่ยวย่านประวัติศาสตร์เมือง ของ สำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว สำนักวัฒนธรรม กีฬา
                       และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร ปี ๒๕๖๑
   207   208   209   210   211   212   213   214   215   216   217