Page 218 - หลักสูตรนักบริหารมหานครระดับกลาง รุ่นที่ 26...
P. 218
205
ท่องเที่ยว การขนส่ง สินค้า และบริการอื่น ๆ ได้ ซึ่งทางชุมชนคิดว่าจะเป็นการเพิ่มรายได้ทางหนึ่ง
ให้กับชุมชน ทั้งนี้หากวิเคราะห์ใน เชิงความต้องการของชุมชน พบว่า ชุมชนมีความต้องการขยาย
กลุ่มเป้าหมายของนักท่องเที่ยวไปยังกลุ่มอื่น เนื่องจากปัจจุบันย่านหัวตะเข้ได้รับความสนใจจาก
นักท่องเที่ยวเชิงศิลปะ เพราะมีการจัดกิจกรรมด้านศิลปะ จาก วิทยาลัยช่างศิลป์ มาอย่างต่อเนื่อง
โดยเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้ถ่ายรูปและนำเสนอผ่านโซเชียลมีเดีย เพื่อ ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้า
มาในพื้นที่ ซึ่งเป็นช่องทางในการกระตุ้น เศรษฐกิจชุมชน สร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่
ส่วนของปัญหาด้านสถานที่ ทางชุมชนจะมีการจัดสรรพื้นที่ชั่วคราวใน
เบื้องต้น เมื่อ การดำเนินงานได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวมากขึ้น อาจจะขยายพื้นที่ไปยังจุดอื่น
เพิ่มเติม ทั้งนี้จะแบ่งโซนพื้นที่ด้านสุขภาพภายในชุมชน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนใน
ชุมชน เมื่อเห็นว่าเกิดกระแสการตอบ รับจากนักท่องเที่ยว ก็จะมีการรวมกลุ่มกันมากขึ้น โดยทาง
ชุมชนจะมีการประชุม ทำความเข้าใจกับประชาชน ในพื้นที่ โดยมีสำนักงานเขตลาดกระบังเป็น
แกนกลาง เพื่อให้เห็นโอกาสในการดำเนินงานการท่องเที่ยงเชิง สุขภาพมากขึ้น ส่วนของการท่องเที่ยง
เชิงวัฒนธรรม เป็นการต่อยอดจากเดิมซึ่งชุมชนมีการดำเนินการอยู่แล้ว เช่น การเดินเที่ยว ในพื้นที่
ย่านหัวตะเข้ การล่องเรือชมศิลปวัฒนธรรม และประเพณีดั้งเดิม ในแหล่งท่องเที่ยว ต่าง ๆ ซึ่งทาง
คณะผู้จัดทำเห็นว่า หากนำการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพไปไว้ในเรือ และล่องไปตามเส้นทางท่องเที่ยว ต่าง
ๆ จะเป็นอีกหนึ่งกิจกรรม ที่สร้างความแปลกใหม่ และเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้ร่วมกิจกรรม
ได้รับ ความรู้จากไกด์ท้องถิ่นซึมซับวัฒนธรรม และได้ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในคราวเดียวกัน โดย
ร่วมกันสนับสนุนให้เกิด เส้นทางท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและวัฒนธรรมทางเรือ ได้แก่ นวด สปา อาหาร
สุขภาพ และการรับฟังข้อมูล รวมถึง ได้ชมบรรยากาศและวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวชุมชนในพื้นที่เขต
ลาดกระบัง
๒.๓ ข้อมูลสภาพพื้นที่ที่จะนำมาพัฒนา หรือ ข้อมูลที่จะนำมาจัดทำเป็นโครงการ
พื้นที่หัวตะเข้มีลักษณะทางกายภาพ ที่เหมาะสมตั้งอยู่ริมคลองประเวศบุรีรมย์
บริเวณจุดตัด กับคลองลำปลาทิวจากทางด้านทิศเหนือ ซึ่งอดีตสามารถเข้าถึงได้จากลำคลอง แต่
ปัจจุบันสามารถเดินทางเข้าถึง ได้จากทางซอยลาดกระบัง ๑๗ ถนนลาดกระบัง บริเวณเชิงสะพาน
ข้ามคลองลำปลาทิว และทางรถไฟสาย ตะวันออกที่สถานีหัวตะเข้ ย่านหัวตะเข้-ลาดกระบัง เป็น
พื้นที่ที่มีความเก่าแก่กว่า ๑๐๐ ปี โดยเป็นตลาดชุมชน ริมน้ำย่านการค้าสำหรับประชาชนที่อาศัยอยู่
ทางด้านตะวันออกของกรุงเทพฯ ไปจนถึงจังหวัดฉะเชิงเทรา ใน ด้านชุมชนพบว่าประชาชนในชุมชน
มีการรวมกลุ่มกันตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันจนเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง ซึ่งปัจจุบัน คือ ชุมชนหลวงพรต-ท่าน
เลี่ยม แต่เดิมประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพค้าขายทางน้ำ ส่วนกลุ่มที่อาศัยอยู่ห่างออกไปก็จะ เป็นการทำ
ี
การเกษตร ส่วนในปัจจุบัน ลักษณะของตลาดเปลี่ยนไป การค้าขายย้ายออกไปจากชุมชน เหลือเพยง
การค้าขายให้กับคนในชุมชนเป็นหลัก คนในชุมชนมีการประกอบอาชีพด้านอื่น ๆ เพิ่มขึ้น เช่น การ
รับจ้าง การ ทำงานในนิคมอุตสาหกรรม ทำให้ฐานะทางเศรษฐกิจลดลงจากเดิม นอกจากนี้ยังพบว่า
ชุมชนหัวตะเข้กำลังอยู่ ในช่วงฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน โดยมีการพัฒนาเรื่องการท่องเที่ยวเชิง