Page 81 - หลักสูตรนักบริหารมหานครระดับกลาง รุ่นที่ 26...
P. 81

69






                                                    3. มหานครสำหรับทุกคน
                                                      บทสรุปสำหรับผู้บริหาร


                       ความสำคัญและที่มาของปัญหา

                              กรุงเทพมหานครได้กำหนดแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๗๕)
                       ได้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน รวมทั้งการพัฒนา สนับสนุนส่งเสริมให้ภาค
                       ประชาชนได้ เข้าถึงการบริการของภาครัฐอย่างเท่าเทียม ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่มีโอกาสเข้าถึง หรือ

                       ผู้ด้อยโอกาสในการเข้าถึงบริการ เพื่อก้าวสู่ความเป็น มหานครแห่งเอเชีย ตามวิสัยทัศน์ทีได้กำหนดไว้
                       ซึ่งจะเห็นได้ชัดในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4  “มหานครสำหรับทุกคน” ประเด็นยุทธศาสตร์ย่อยที่ 3.3

                       การศึกษาสำหรับทุกคน ซึ่งมุ่งเน้นให้ทุกคนเข้าถึง การศึกษาได้อย่างทั่วถึงชาวกรุงเทพมหานครทุกคน
                       ทุกชนชั้น ทุกอาชีพ ทุกเพศ ทุกวัย และสถานภาพอยู่ร่วมกัน อย่างเสมอภาคสมานฉันท์ เกื้อกูลซึ่งกัน

                       และกัน เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน ได้รับโอกาสที่จะเรียนรู้พัฒนาตนเองและ เข้าถึงบริการสาธารณะ
                       ซึ่งบริหารจัดการและกำกับดูแลโดยสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว เป็น หน่วยงานในสังกัด

                       กรุงเทพมหานคร มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการอนุรักษ์ส่งเสริม เผยแพร่ ฟื้นฟู บำรุงรักษา
                                                 ี่
                       ศิลปวัฒนธรรม และเอกลักษณ์ทดีของความเป็นไทย และสนับสนุนการให้บริการและจัดกิจกรรมต่าง
                       ๆ ด้าน คุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเน้นการมีส่วนร่วม รวมทั้งการบริหารจัดการห้องสมุด

                       ประชาชนของ กรุงเทพมหานครจำนวน ๓๖ แห่ง รถห้องสมุดเคลื่อนที่จำนวน ๕ คัน ซึ่งถือเป็น
                       ช่องทางหลักในการให้ประชาชน เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และองค์ความรู้ต่างๆ แต่จากปัญหาอุปสรรค

                       และจุดอ่อนของห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ของ กรุงเทพมหานคร ที่ประชาชนยังไม่รับรู้ข่าวสาร ช่อง
                       ทางการเข้าถึงไม่สะดวก และอาจไม่ทันยุคสมัยในปัจจุบัน ทำ ให้การเข้าถึงข้อมูลและองค์ความรู้ต่างๆ

                       ในห้องสมุดยังไม่ได้รับความสนใจมากนัก ประกอบกับสถิติพบว่าการใช้ บริการห้องสมุดเพื่อการ
                       เรียนรู้กรุงเทพมหานคร ของประชาชนกลับมีอัตราที่น้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวน ประชากรใน

                       กรุงเทพมหานคร โดยพบว่าสถิติย้อนหลัง 3 ปี (2560-2562) พบว่ามีอัตราการเข้าใช้บริการ
                       ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ของกรุงเทพมหานคร รวมกันทั้ง 36 แห่ง เฉลี่ยปีละประมาณ 2,209,269
                       ครั้งเท่านั้น จากสถิติข้างต้นนอกจากจะพบสถิติการใช้งานห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ของ

                                                                                 ั
                       กรุงเทพมหานคร ที่มีอัตราน้อยครั้งแล้ว ยังพบว่าการใช้งานห้องสมุดมีอตราลดลงทุกปี ประมาณปีละ
                       10% ทุกปี จึงถือเป็นปัญหาและข้อสงสัยต้อที่ต้องมี การตรวจสอบสาเหตุและค้นหาวิธีการพัฒนา

                       ปรับปรุงต่อไป
                              ซึ่งจากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในการใช้บริการห้องสมุดเพอการเรียนรู้ดังกล่าว
                                                                                         ื่
                       สามารถสรุปได้ว่าห้องสมุดมีความจำเป็นต่อการประกอบอาชีพ การเรียน การศึกษา และ
                       ชีวิตประจำวันโดย ปัญหาในเบื้องต้นที่ประชาชนใช้บริการห้องสมุดในอัตราที่น้อยในปัจจุบัน มีสาเหตุ

                       มาจาก
                              1. ข้อมูลข่าวสารและการรับรู้ถึงการมีอยู่ของห้องสมุด
   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86