Page 65 - (ทดสอบ) สำมะโนที่ดิน
P. 65

บทที่ 5


                                                     สรุปผลการดำเนินงาน

                       5.1 สรุปผลการดำเนินงาน

                              โครงการสำรวจจัดทำสำมะโนที่ดินเพื่อการพัฒนาที่ดิน ในแผนการใช้ที่ดินระดับตำบลใน

                       พื้นที่ตำบลโคกก่อ อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม เนื้อที่ 48,293 ไร่ มีรายละเอียดโดย
                       สรุปได้ ดังนี้

                            5.1.1 ข้อมูลลักษณะแปลงที่ดิน
                                     ก) ดำเนินการสำรวจฯ ในพื้นที่ 16 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านโคกก่อ บ้านโรงบ่ม บ้านหนองหิน
                       (หมู่ 3 ,หมู่ 4) บ้านภูดิน บ้านหนองแสง บ้านสมศรี บ้านหนองแวงน้อย บ้านหนองโจด บ้านหัวช้าง บ้าน

                       ภูดิน บ้านโคกก่อ บ้านหนองโจด บ้านหนองสูง บ้านภูดินตักสิลา บ้านค่ายสมศรี
                                     ข) ดำเนินการสำรวจแปลงถือครองที่ดินโดยวิธีการสัมภาษณ์เกษตรกรจำนวน 2,370 แปลง
                                     ค) เกษตรกรถือเอกสารสิทธิประเภท ได้แก่ โฉนดที่ดิน จำนวน 1,737 แปลง (ร้อยละ

                       73.29) และ ส.ป.ก. 4-01 จำนวน 447 แปลง (ร้อยละ 18.86)
                                     ง) เกษตรกรเป็นเจ้าของที่ดินและทำการเกษตรเอง จำนวน 1,300 แปลง (ร้อยละ
                       54.87) ญาติ/เข้าทำเปล่า จำนวน 535 แปลง (ร้อยละ 22.57) และให้ข้อมูลแทนจำนวน 521 แปลง
                       (ร้อยละ 21.98)
                                     จ) ขนาด สัดส่วนแปลงที่ดินของเกษตรกรมีขนาดเนื้อที่อยู่ระหว่างแปลงที่ดินที่มีขนาด

                       ๑-5 ไร่ จำนวน 936 แปลง (ร้อยละ 39.49)

                              5.1.2 ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน
                                     ก) เกษตรกรทำนามากที่สุด จำนวน 1,793 แปลง (ร้อยละ 75.67) รองลงมา คือ

                       มันสำปะหลัง จำนวน 129 แปลง (ร้อยละ 5.44) ปศุสัตว์ จำนวน 67 แปลง (ร้อยละ 2.83)
                                     ข) ด้านน้ำต้นทุนเพื่อการเกษตร พบว่า เกษตรกรในพื้นที่มีการใช้น้ำด้านเกษตรกรรม
                       จากฝนอย่างเดียวมากที่สุด จำนวน 1,882 แปลง (ร้อยละ 79.41) รองลงมาเป็นการใช้บ่อ/สระขุดเอง
                       จำนวน 250 แปลง (ร้อยละ 10.55) และใช้น้ำชลประทาน จำนวน 136 แปลง (ร้อยละ 5.74)

                                                                                                     ่
                                     ค) ปัญหาหลักด้านการเกษตร 3 อันดับแรกที่พบในพื้นที่ดำเนินการ ได้แก ภัยแล้ง
                       จำนวน 1,734 แปลง (ร้อยละ 73.16) รองลงมาเป็นเรื่องโรคพืช/ศัตรูพืช จำนวน 779 แปลง (ร้อยละ
                       32.87) และดินมีศักยภาพต่ำ จำนวน 519 แปลง (ร้อยละ 21.90)
                                     ง) เกษตรกรมีการใช้ปุ๋ยเคมี/ปุ๋ยอินทรีย์มากที่สุด จำนวน 1,105 แปลง (ร้อยละ

                       46.62) รองลงมา คือ ปุ๋ยอินทรีย์ จำนวน 559 แปลง (ร้อยละ 23.59) ปุ๋ยเคมี จำนวน 505 แปลง
                       (ร้อยละ 21.31) และไม่ใช้ปุ๋ย จำนวน 201 แปลง (ร้อยละ 8.48)
                                     จ) เกษตรกรมีการใช้สารเคมีปราบศัตรูพืช จำนวน 39 แปลง (ร้อยละ 1.65) และ ไม่ใช้

                       สารเคมีปราบศัตรูพืช จำนวน 2,331 แปลง (ร้อยละ 98.35)
                                     ฉ) ปัญหาด้านดินเกษตรกรมีปัญหามากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ปัญหาดินทราย จำนวน
                       2,033 แปลง (ร้อยละ 85.78) รองลงมาเป็นดินเค็ม จำนวน 45 แปลง (ร้อยละ 1.91) และดินเหนียว
                       จำนวน 20 แปลง (ร้อยละ 0.84)
   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70