Page 66 - (ทดสอบ) สำมะโนที่ดิน
P. 66

40


                              5.1.3 ข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกร
                              การสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เกษตรกรมี

                       การขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร (สุมดเล่มเขียว) มากที่สุด จำนวน 2,152 แปลง (ร้อยละ
                       90.80) รองลงมาเป็นขึ้นทะเบียนกับกรมการข้าว จำนวน 12  แปลง (ร้อยละ 0.51) และขึ้นทะเบียนกับ
                       สมุดแดง ของ ธกส. จำนวน 9 แปลง (ร้อยละ 0.38) การเข้าร่วมกิจกรรมบัตรดินดีของกรมพัฒนาที่ดิน
                       พบว่า เกษตรกรเข้าร่วมกิจกรมบัตรดินดี จำนวน 25 แปลง (ร้อยละ 1.05) และเกษตรกรไม่เข้าร่วมกิจกรรม
                       บัตรดินดี จำนวน 2,345 แปลง (ร้อยละ 98.95) และการประมาณบัญชีจากผลผลิตทางการเกษตร

                       พบว่า เกษตรกรปลูกไว้บริโภค มากที่สุด จำนวน 1,280 แปลง (ร้อยละ 54.01) รองลงมามีรายจ่าย
                       เท่ากับรายรับ (เท่าทุน) จำนวน 589 แปลง (ร้อยละ 24.85) และมีรายจ่ายน้อยกว่ารายรับ (กำไร)
                       367 แปลง (ร้อยละ 15.49)

                       5.2   ปัญหาและอุปสรรค


                              1. เกษตรกรเจ้าของพื้นที่หรือผู้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดำเนินงาน มีภูมิลำเนาอยู่นอกพื้นที่ทำให้ไม่
                       มีข้อมูลจากการสัมภาษณ์โดยตรง การประสานงานในกลุ่มเกษตรกรไม่ทั่วถึง และบางรายไม่ให้
                       ความสำคัญกับการดำเนินงานของโครงการ
                              2. ในช่วงปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ เกษตรบางกลุ่มจะติดภารกิจในการเข้าดูแลพืชผลที่ปลูกจึงไม่

                       สามารถเข้ามาให้ข้อมูลได้
                              3. เกษตรกรบางรายมีการถือครองที่ดินจำนวนหลายแปลง และมีการทำประโยชน์หลากหลาย
                       จึงทำการให้ข้อมูลรายแปลงเกิดความสับสน ว่าแปลงไหนทำประโยชน์อะไรบ้าง ข้อมูลรายแปลงที่ได้
                       อาจจะมีความผิดพลาดจากความเป็นจริง

                               4. ปัญหาด้านขอบเขตการปกครอง แนวเขตตำบล ไม่ตรงกันกับพื้นที่จริง บางหมู่บ้านอยู่ในแนว
                       เขตพื้นที่ตำบล (กรมการปกครองปี 2556) แต่ความเป็นจริงหมู่บ้านขึ้นตรงกับตำบลอื่น จึงทำให้การนัด
                       สัมภาษณเกษตรกรเพอมาให้ข้อมูลเป็นไปได้ไม่ครบถ้วน
                               ์
                                        ื่
                       5.3   ข้อเสนอแนะ

                              สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต สถานีพัฒนาที่ดิน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำข้อมูลและแผนที่ไปใช้
                       ประโยชน์ได้ดังนี้

                              1. สามารถนำแผนที่การถือครองที่ดินและข้อมูลอรรถาธิบาย (Attribute) มาใช้ในงานของ
                       กรมพัฒนาที่ดิน และหน่วยงานต่าง ๆ ภายในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เช่น
                                     - เรื่องทัศนคติของเกษตรกรสำหรับงานด้านพัฒนาที่ดิน และปัญหาด้านการเกษตร

                       สามารถใช้เป็นฐานข้อมูลประกอบการให้คำแนะนำในการจัดการดินสำหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจ ตาม
                       ความเหมาะสมเป็นรายแปลงได้
                                     - เรื่องปัญหาการขาดแคลนน้ำสำหรับการเกษตร สามารถใช้เป็นฐานข้อมูลสำหรับงาน
                       ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการพัฒนาที่ดินและแหล่งน้ำ เช่น การอนุรักษ์ดินและน้ำ การสร้าง
                       แหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน และการสร้างแหล่งน้ำเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ

                                     - เรื่องการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรแปลงใหญ่
                                     - ด้านการวางแผนเพื่อการขายพืชผลทางการเกษตร
                              2. สามารถนำแผนที่การถือครองที่ดินและข้อมูลอรรถาธิบาย (Attribute) ใช้เป็นฐานข้อมูลด้าน

                       การตรวจสอบ การปรับปรุง และจัดทำข้อมูลเชิงพื้นที่ของข้อมูลด้านดิน ด้านสภาพการใช้ที่ดิน ด้านการ
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71