Page 67 - รายงานสำรวจและจัดทำแผนผังถ้ำ เขตอุทยานแห่งชาติภาคใต้
P. 67

59




                   3.2.11 แผนผังถ้ำไอศกรีม

                                 ข้อมูลทั่วไป : ถ้ำไอศกรีมตั้งอยู่ในเกาะพนัก เขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา ตำบล

                   เกาะปันหยี อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา พิกัดที่ 443968 ตะวันออก 906536 เหนือ เดินทางโดย
                   รถยนต์จากอำเภอเมืองพังงา ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 มุ่งไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ แล้วเลี้ยวซ้ายใช้ทาง
                   หลวงหมายเลข 4144 ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา ระยะทางประมาณ 7.2 กิโลเมตร
                   และโดยสารเรือจากอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงาถึงถ้ำไอศกรีม ระยะทางประมาณ 24 กิโลเมตร

                                 ลักษณะเด่น : เป็นถ้ำชายฝั่งทะเลหรือถ้ำทะเล และถ้ำที่เกิดจากการละลาย น้ำทะเล

                   โบราณกัดเซาะเกาะพนักจนเกิดโพรงถ้ำ ลักษณะเป็นช่องลอดใต้ภูเขาทะลุจากปากถ้ำฝั่งด้านที่ติดทะเล
                   ไปสู่อีกปากถ้ำด้านที่เป็นทะเลใน โถงถ้ำหลัก 1 โถง โถงย่อย 1 โถง พบประติมากรรมถ้ำที่สวยงาม เช่น
                   หินย้อยย้อนแสง หินย้อย หินน้ำไหล เสาหิน และม่านหินย้อย เป็นต้น (รูปที่ 3.29) ปากถ้ำบริเวณทะเลใน

                   พบหินงอกลักษณะสวยงามรูปร่างคล้ายไอศกรีมโคน ถ้ำแห่งนี้จึงถูกเรียกชื่อว่า “ถ้ำไอศกรีม” การสำรวจ
                   และจัดทำแผนผังถ้ำเทียบได้กับระดับ 4 (grade 4) ตามมาตรฐานการสำรวจของสมาคมวิจัยถ้ำของ
                   ประเทศอังกฤษ (British Cave Research Association: BCRA) คณะสำรวจได้กำหนดให้อยู่ระหว่าง
                   ชั้น B (class B) ความยาวโถงหลัก 110.541 เมตร ความยาวโถงย่อย 17.732 เมตร ความยาวรวม
                   128.273 เมตร (รูปที่ 3.30)


                                 ลักษณะธรณีวิทยา : ลักษณะภูมิประเทศแบบคาสต์ ถ้ำ แนวของเทือกเขาหินปูน
                   มียอดตะปุ่มตะป่ำและยอดแหลมสูงๆ ต่ำๆ ไม่สม่ำเสมอกัน และหลุมยุบ มีแนวการวางตัวในทิศเหนือ-ใต้
                   บริเวณนี้จัดอยู่ในหมวดหินอุ้มลูก กลุ่มหินราชบุรี ประกอบด้วย หินปูน หินปูนเนื้อโดโลไมต์ สีเทาปาน
                   กลางถึงเทา ชั้นหนาถึงไม่แสดงชั้น เนื้อหินปูนขนาดละเอียดมีซากดึกดำบรรพ์ปนอยู่น้อยกว่าร้อยละ 10
                   (Dunham, 1962) มีก้อนเชิร์ตลักษณะเป็นเลนส์วางตัวตามแนวการวางตัวของชั้นหิน พบซากดึกดำบรรพ ์

                   พวกไครนอยด์สเต็ม หอยฝาเดียว แบรคิโอพอด หอยสองฝา ปะการัง และฟองน้ำ มีอายุอยู่ในยุคเพอร์เมียน
                   หรือประมาณ 299-252 ล้านปีมาแล้ว

                                 การเกิดถ้ำไอศกรีม : เป็นถ้ำชายฝั่งทะเลหรือถ้ำทะเล และถ้ำที่เกิดจากการละลาย
                   ในอดีตยุคเพอร์เมียนเมื่อประมาณ 299 – 252 ล้านปีก่อน บริเวณถ้ำเคยเป็นทะเลมาก่อนมีสิ่งมีชีวิตอาศัย

                   อยู่ในทะเลเป็นจำนวนมาก เช่น ฟูซูลินิด ปะการัง ฟองน้ำ ไครนอยด์ หอยฝาเดียว และหอยสองฝา เป็น
                   ต้น เมื่อเวลาผ่านไปตะกอนคาร์บอเนตที่สะสมอยู่ในทะเลผ่านกระบวนทางธรณีวิทยาแข็งตัวกลายเป็น
                   หินปูน พร้อมทั้งสิ่งมีชีวิตที่เคยอาศัยอยู่ในทะเลก็กลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ ต่อมาเกิดการเปลี่ยนแปลงของ
                   แผ่นเปลือกโลกทำให้ชั้นหินถูกยกตัวขึ้นกลายเป็นภูเขาหินปูน พบโครงสร้างธรณีวิทยา เช่น ชั้นหินคดโค้ง

                   รอยแตก และรอยเลื่อนภายในชั้นหินจำนวนมาก เป็นต้น น้ำทะเลในอดีตที่เพิ่มระดับสูงขึ้นกัดเซาะเกาะแผ่
                   เป็นบริเวณกว้าง ร่องรอยที่บันทึกตามเกาะในพื้นที่อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงาเป็นหลักฐานการเพิ่มขึ้นของ
                   ระดับน้ำทะเลโบราณ ร่องรอยดังกล่าวเรียกว่า “เว้าทะเล” (รูปที่ 3.29 (ก)) นอกจากนี้น้ำทะเลได้กัดเซาะ
                   หินปูนตามแนวรอยแตก รอยเลื่อน จนเกิดโพรงถ้ำลอดใต้ภูเขาทะลุจากปากถ้ำฝั่งด้านที่ติดทะเลไปสู่อกด้านที่
                                                                                                   ี
                   เป็นทะเลใน และยังพบบันทึกร่องรอยการเจาะผนังถ้ำของหอยเกือบตลอดแนวโถงถ้ำจนเป็นช่องเล็กๆ
                   เพื่อเข้าหลบกระแสคลื่นที่รุนแรงในอดีตที่น้ำทะเลเคยท่วมสูง (รูปที่ 3.29 (ข)) หลังจากนั้นระดับของน้ำทะเล
                   ค่อยๆ ลดลง ในขณะที่ระดับของน้ำทะเลกำลังลดลง น้ำฝนที่รวมตัวกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ

                   มีฤทธิ์เป็นกรดออน ไหลซึมเข้าไปตามรอยแตกและรอยเลื่อน ทำให้รอยแตกและรอยเลื่อนขยายขนาดใหญ่ขึ้น
                                ่
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72