Page 74 - รายงานสำรวจและจัดทำแผนผังถ้ำ เขตอุทยานแห่งชาติภาคใต้
P. 74

66




               เพื่อเข้าหลบกระแสคลื่นที่รุนแรงในอดีตที่น้ำทะเลเคยท่วมสูง (รูปที่ 3.33 (ง)) หลังจากนั้นระดับของน้ำทะเล
               ค่อยๆ ลดลง ในขณะที่ระดับของน้ำทะเลกำลังลดลง น้ำฝนที่รวมตัวกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ

                            ่
               มีฤทธิ์เป็นกรดออน ไหลซึมเข้าไปตามรอยแตกและรอยเลื่อน ทำให้รอยแตกและรอยเลื่อนขยายขนาดใหญ่ขึ้น
               น้ำที่ซึมมาตามรอยแตกและรอยเลื่อนละลายหินปูนไหลเข้ามาในโถงถ้ำแห้งเกิดประติมากรรมถ้ำจำนวนมาก
               เช่น หินย้อย หินย้อยย้อนแสง ม่านหินย้อย เสาหิน ทำนบหินปูน ไข่มุกถ้ำ และหินน้ำไหล เป็นต้น ปัจจุบัน
               น้ำทะเลที่กัดเซาะใต้พื้นถ้ำ ทำให้พื้นถ้ำบางและถล่มลงไป คาดว่าในอนาคตพื้นถ้ำจะถูกน้ำทะเลกัดเซาะ

               และหายออกไปจนหมด

                              แนวทางในการบริหารจัดการแหล่ง : แหล่งนี้มีศักยภาพในการพัฒนาและการบริหาร
                                                                                               ้
               จัดการอยู่ในระดับปานกลางสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับจังหวัดได้ แหล่งเรียนรู้เรื่องถำ ควรมี
               แผ่นพับข้อควรปฏิบัติในการเที่ยวถ้ำ แสดงแผนผังภายในถ้ำและลักษณะการเกิดของถ้ำ รวมถึงการเกิด
               ประติมากรรมถ้ำ เช่น หินย้อยย้อนแสง ม่านหินย้อย หินย้อย เสาหิน ทำนบหินปูน และหินน้ำไหล เป็นต้น


               3.2.14 แผนผังถ้ำจระเข   ้

                              ข้อมูลทั่วไป : ถ้ำจระเข้ตั้งอยู่ในเกาะตะรุเตา เขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติตะรุเตา ตำบล
               เกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล พิกัดที่ 571927 ตะวันออก 740236 เหนือ เดินทางโดย
               รถยนต์จากอำเภอเมืองสตูล ใช้ทางหลวงหมายเลข 406 มุ่งไปทางทิศเหนือ เลี้ยวซ้ายบริเวณแยกฉลุงใช้

               ทางหลวงหมายเลข 416 (สตูล-ละงู) เลี้ยวซ้ายใช้ทางหลวงหมายเลข 4052 ตรงไปสู่ท่าเรือปากบารา
               ระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร เดินทางโดยเรือโดยสารจากท่าเรือปากบาราไปท่าเรือพันเตมะละกา
               อุทยานแห่งชาติตะรุเตา (เกาะตะรุเตา) ระยะทางประมาณ 22 กิโลเมตร และนั่งเรือจากท่าเรือพนเตมะละกา
                                                                                            ั
               ไปตามคลองพันเตมะละกาถึงถ้ำจระเข้ ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร

                              ลักษณะเด่น : เป็นถ้ำชายฝั่งทะเลหรือถ้ำทะเล และถ้ำที่เกิดจากการละลาย โพรงถ้ำ

               ลักษณะเป็นช่องลอดใต้ภูเขาทะลุจากปากถ้ำด้านหนึ่งไปสู่อีกด้านที่เป็นป่าโกงกาง ภายในถ้ำมีสายน้ำไหล
               ผ่านตลอดเวลา การเยี่ยมชมความงามภายในถ้ำต้องใช้เรือ โถงถ้ำหลัก 1 โถง โถงย่อย 1 โถง
               พบประติมากรรมถ้ำที่สวยงาม เช่น หินย้อยย้อนแสง หินย้อย หินงอก หินน้ำไหล เสาหิน และม่านหินย้อย
               เป็นต้น (รูปที่ 3.35) การสำรวจและจัดทำแผนผังถ้ำเทียบได้กับระดับ 2 (grade 2) ตามมาตรฐานการ

               สำรวจของสมาคมวิจัยถ้ำของประเทศอังกฤษ (British Cave Research Association: BCRA) คณะ
               สำรวจได้กำหนดให้อยู่ระหว่าง ชั้น B (class B) ความยาวโถงหลัก 622.530 เมตร ความยาวโถงย่อย
               116.075 เมตร ความยาวรวม 738.605 เมตร (รูปที่ 3.36)

                              ลักษณะธรณีวิทยา : ลักษณะภูมิประเทศแบบคาสต์ ถ้ำ แนวของเทือกเขาหินปูน
               มียอดตะปุ่มตะป่ำและยอดแหลมสูงๆ ต่ำๆ ไม่สม่ำเสมอกัน และหลุมยุบ มีแนวการวางตัวในทิศเกือบ

               เหนือ-ใต้ หินปูนบริเวณนี้จัดอยู่ในกลุ่มหินทุ่งสง ประกอบด้วย หินปูน สีเทาปานกลางถึงเทา ชั้นบาง
               ถึงหนาปานกลาง แสดงลักษณะชั้นแบบริ้วขนานอย่างต่อเนื่อง (Campbell, 1967) เนื้อหินปูนขนาด
               ละเอียดมีซากดึกดำบรรพ์ปนอยู่น้อยกว่าร้อยละ 10 (Dunham, 1962) แทรกสลับด้วยหินปูนเนื้อปนโคลน
               ผุสีน้ำตาลอ่อน ชั้นบาง แสดงลักษณะชั้นแบบริ้วขนานอย่างไม่ต่อเนื่อง (Campbell, 1967) พบซากดึกดำบรรพ  ์

               พวกนอติลอยด์ และแบรคิโอพอด (รูปที่ 3.37) มีอายุอยู่ในยุคออร์โดวิเชียนตอนล่างถึงตอนกลาง
               หรือประมาณ 485-458 ล้านปีมาแล้ว (กรมทรัพยากรธรณี, 2550)
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79