Page 77 - รายงานสำรวจและจัดทำแผนผังถ้ำ เขตอุทยานแห่งชาติภาคใต้
P. 77
69
การเกิดถ้ำจระเข้ : เป็นถ้ำชายฝั่งทะเลหรือถ้ำทะเล และถ้ำที่เกิดจากการละลาย ในอดีต
ยุคออร์โดวิเชียนตอนล่างถึงตอนกลาง หรือประมาณ 485-458 ล้านปีก่อน บริเวณนี้เคยเป็นทะเลมาก่อน
มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ในทะเลบริเวณพืดหินหรือกอหินปะการังเป็นจำนวนมาก เช่น นอติลอยด์ ปะการัง
ฟองน้ำ ไครนอยด์ และแบรคิโอพอด เป็นต้น เมื่อเวลาผ่านไปตะกอนคาร์บอเนตที่สะสมอยู่ในทะเลผ่าน
กระบวนทางธรณีวิทยาแข็งตัวกลายเป็นหินปูน พร้อมทั้งสิ่งมีชีวิตที่เคยอาศัยอยู่ในทะเลก็กลายเป็น
ซากดึกดำบรรพ์ ต่อมาเกิดการเปลี่ยนแปลงของแผ่นเปลือกโลกทำให้ชั้นหินถูกยกตัวขึ้นกลายเป็นภูเขา
หินปูน ก่อให้เกิดโครงสร้างธรณีวิทยา เช่น ชั้นหินคดโค้ง รอยแตก และรอยเลื่อนภายในชั้นหินจำนวนมาก
เป็นต้น น้ำฝนที่รวมตัวกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ไหลซึมเข้าไปตามรอยแตก
และรอยเลื่อน ทำให้รอยแตกและรอยเลื่อนขยายขนาดใหญ่ขึ้นจนเกิดเป็นโพรงถ้ำ น้ำทะเลในอดีตที่
เพิ่มระดับสูงขึ้นกัดเซาะเกาะแผ่เป็นบริเวณกว้าง น้ำทะเลได้กัดเซาะหินปูนตามแนวรอยแตก รอยเลื่อน
จนเกิดโพรงถ้ำลอดใต้ภูเขาทะลุจากปากถ้ำด้านหนึ่งไปสู่อีกปากถ้ำด้านที่เป็นป่าโกงกาง หลังจากนั้นระดับ
ของน้ำทะเลค่อยๆ ลดลง ในขณะที่ระดับของน้ำทะเลกำลังลดลง น้ำฝนที่รวมตัวกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ในอากาศ มีฤทธิ์เป็นกรดออน ไหลซึมเข้าไปตามรอยแตกและรอยเลื่อน ละลายหินปูนไหลเข้ามาในโถงถ้ำแห้ง
่
เกิดประติมากรรมถ้ำจำนวนมาก เช่น หินย้อย หินงอก หินย้อยย้อนแสง ม่านหินย้อย เสาหิน ทำนบหินปูน
ไข่มุกถ้ำ และหินน้ำไหล เป็นต้น
แนวทางในการบริหารจัดการแหล่ง : แหล่งนี้มีศักยภาพในการพัฒนาและการบริหาร
้
จัดการอยู่ในระดับปานกลางสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับจังหวัดได้ แหล่งเรียนรู้เรื่องถำ ควรมี
แผ่นพับข้อควรปฏิบัติในการเที่ยวถ้ำ แสดงแผนผังภายในถ้ำและลักษณะการเกิดของถ้ำ รวมถึงการเกิด
ประติมากรรมถ้ำ เช่น หินย้อยย้อนแสง ม่านหินย้อย หินย้อย หินงอก เสาหิน และหินน้ำไหล เป็นต้น
3.2.15 แผนผังถ้ำสูง
ข้อมูลทั่วไป : ถ้ำสูงตั้งอยู่ในเกาะลิดีเล็ก เขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ตำบล
ปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล พิกัดท 584335 ตะวันออก 749813 เหนือเดินทางโดยรถยนต์จากอำเภอ
ี่
เมืองสตูล ใช้ทางหลวงหมายเลข 406 มุ่งไปทางทิศเหนือ เลี้ยวซ้ายบริเวณแยกฉลุงใช้ทางหลวงหมายเลข
416 (สตูล-ละงู) เลี้ยวซ้ายใช้ทางหลวงหมายเลข 4052 ตรงไปสู่ท่าเรือปากบารา เลี้ยวซ้ายบริเวณผ่าน
อบต.ปากน้ำ มุ่งสู่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร และเดินทางโดยเรือ
จากท่าเรืออุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตราไปสู่ท่าเรือเกาะลิดีเล็ก ระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร เดินเท้า
จากท่าเทียบเรือต่อไปตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติถึงถ้ำสูง ระยะทางประมาณ 500 เมตร
ลักษณะเด่น : เป็นถ้ำที่เกิดจากการละลาย ประกอบด้วย 2 โถงถ้ำ มีช่องขนาดเล็กๆ
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 30 เซนติเมตร หรือเท่ากับขนาดของคนนอนลอดเข้าไป เพื่อเชื่อมโยงโถงถ้ำที่
หนึ่ง กับโถงถ้ำที่สอง โถงถ้ำหลัก 1 โถง พบประติมากรรมถ้ำที่สวยงาม เช่น หินย้อย ม่านหินย้อย
และหินน้ำไหล เป็นต้น (รูปที่ 3.38) การสำรวจและจัดทำแผนผังถ้ำเทียบได้กับระดับ 4 (grade 4)
ตามมาตรฐานการสำรวจของสมาคมวิจัยถ้ำของประเทศอังกฤษ (British Cave Research Association:
BCRA) คณะสำรวจได้กำหนดให้อยู่ระหว่าง ชั้น C (class C) ความยาวโถงหลัก 47.401 เมตร ความยาวรวม
47.401 เมตร (รูปที่ 3.39)
ลักษณะธรณีวิทยา : ภูมิประเทศคาสต์รูปกรวยและคาสต์รูปหอคอย แนวการวางตัวใน
ทิศเกือบเหนือ-ใต้ บริเวณนี้จัดอยู่ในหมวดหินพนมวัง กลุ่มหินราชบุรี ประกอบด้วย หินปูน หินปูนเนื้อ
โดโลไมต์ สีเทาปานกลางถึงเทา ชั้นปานกลางถึงหนา เนื้อหินปูนขนาดละเอียดมีซากดึกดำบรรพ์ปนอยู่