Page 80 - รายงานสำรวจและจัดทำแผนผังถ้ำ เขตอุทยานแห่งชาติภาคใต้
P. 80

72













                                                       (ก)                  (ข)                   (ค)

               รูปที่ 3.37 กลุ่มหินทุ่งสง ภายในถ้ำจระเข้ อุทยานแห่งชาติตะรุเตา จังหวัดสตูล

                       (ก) หินปูน แทรกสลับด้วยหินปูนเนื้อโคลน ผนังบริเวณ B4-B5
                       (ข)-(ค) ซากดึกดำบรรพนอติลอยด์ ผนังบริเวณ B4-B5
                                          ์
                              การเกิดถ้ำสูง : เป็นถ้ำที่เกิดจากการละลาย ในอดีตยุคเพอร์เมียน หรือเมื่อประมาณ
               299 – 252 ล้านปีก่อน บริเวณนี้เคยเป็นทะเลมาก่อนมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ในทะเลเป็นจำนวนมาก เช่น

               ฟูซูลินิด แบรคิโอพอด ปะการัง ฟองน้ำ ไครนอยด์ หอยฝาเดียว และหอยสองฝา เป็นต้น เมื่อเวลาผ่านไป
               ตะกอนคาร์บอเนตที่สะสมอยู่ในทะเลผ่านกระบวนทางธรณีวิทยาแข็งตัวกลายเป็นหินปูน พร้อมทั้ง
               สิ่งมีชีวิตที่เคยอาศัยอยู่ในทะเลก็กลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ ต่อมาเกิดการเปลี่ยนแปลงของแผ่นเปลือกโลก
               ทำให้ชั้นหินถูกยกตัวขึ้นกลายเป็นภูเขาหินปูน ก่อให้เกิดโครงสร้างธรณีวิทยา เช่น ชั้นหินคดโค้ง รอยแตก
               และรอยเลื่อนภายในชั้นหินจำนวนมาก เป็นต้น น้ำฝนที่รวมตัวกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ

                            ่
               มีฤทธิ์เป็นกรดออน ไหลซึมเข้าไปตามรอยแตกและรอยเลื่อน ทำให้รอยแตกและรอยเลื่อนขยายขนาดใหญ่ขึ้น
               จนเกิดเป็นโพรงถ้ำ น้ำฝนที่รวมตัวกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศไหลซึมเข้าไปตามรอยแตก
               และรอยเลื่อนละลายหินปูนไหลเข้ามาในโถงถ้ำแห้งเกิดประติมากรรมถ้ำจำนวนมาก เช่น หินย้อย ม่านหินย้อย

               และหินน้ำไหล เป็นต้น
                              แนวทางในการบริหารจัดการแหล่ง : แหล่งนี้มีศักยภาพในการพัฒนาและการบริหาร

                                                                                               ้
               จัดการอยู่ในระดับปานกลางสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับจังหวัดได้ แหล่งเรียนรู้เรื่องถำ ควรมี
               แผ่นพับข้อควรปฏิบัติในการเที่ยวถ้ำ แสดงแผนผังภายในถ้ำและลักษณะการเกิดของถ้ำ รวมถึงการเกิด
               ประติมากรรมถ้ำ เช่น ม่านหินย้อย หินย้อย และหินน้ำไหล เป็นต้น


               3.2.16 แผนผังถ้ำเจ้าไหม-เจ้าคุณ

                              ข้อมูลทั่วไป : ถ้ำเจ้าไหม-เจ้าคุณตั้งอยู่ในเขาโต๊ะแนะ เขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม
               บ้านเจ้าไหม ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง พิกัดท 544553 ตะวันออก 810366 เหนือ เดินทาง
                                                                 ี่
               โดยรถยนต์จากอำเภอเมืองตรัง ใช้ทางหลวงหมายเลข 403 มุ่งไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ เลี้ยวซ้ายใช้ทาง
               หลวงหมายเลข 4008 เลี้ยวซ้ายใช้ทางหลวงหมายเลข 5010 ตรงไปสู่ท่าเรือหาดยาว ระยะทางประมาณ

                                                             ้
               49 กิโลเมตร และโดยสารเรือจากท่าเรือหาดยาวไปถึงถำเจ้าไหม-เจ้าคุณ ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร
                              ลักษณะเด่น : เป็นถ้ำที่เกิดจากการละลาย ประกอบด้วยโถงถ้ำขนาดใหญ่ 2 โถง โดยโถง
               ถ้ำด้านทิศเหนือมีประติมากรรมถ้ำที่สวยงามจำนวนมาก และโถงถ้ำทางทิศใต้มีหินปูนถล่มจำนวนมาก
               มีค้างคาวอยู่เยอะ กลิ่นขี้ค้างคาวรุนแรง และบริเวณกองหินปูนถล่มพบแมลงสาบอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก
               โถงถ้ำหลัก 1 โถง โถงย่อย 3 โถง พบประติมากรรมถ้ำที่สวยงาม เช่น หินย้อยย้อนแสง หินย้อย หินงอก
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85