Page 83 - รายงานสำรวจและจัดทำแผนผังถ้ำ เขตอุทยานแห่งชาติภาคใต้
P. 83

75




                                 ลักษณะธรณีวิทยา : ลักษณะภูมิประเทศแบบคาสต์ ถ้ำ แนวของเทือกเขาหินปูน
                   มียอดตะปุ่มตะป่ำและยอดแหลมสูงๆ ต่ำๆ ไม่สม่ำเสมอกัน และหลุมยุบ มีแนวการวางตัวในทิศเกือบ

                   เหนือ-ใต้ บริเวณนี้จัดอยู่ในกลุ่มหินราชบุรี ประกอบด้วย หินปูน หินปูนเนื้อโดโลไมต์ สีเทาปานกลางถึงเทา
                   ชั้นหนาถึงไม่แสดงชั้น เนื้อหินปูนขนาดละเอียดมีซากดึกดำบรรพ์ปนอยู่น้อยกว่าร้อยละ 10 (Dunham,
                   1962) มีก้อนเชิร์ตลักษณะเป็นเลนส์วางตัวตามแนวการวางตัวของชั้นหิน พบซากดึกดำบรรพ์พวก
                   ไครนอยด์สเต็ม หอยฝาเดียว แบรคิโอพอด หอยสองฝา ปะการัง และฟองน้ำ มีอายุอยู่ในยุคเพอร์เมียน

                   หรือประมาณ 299-252 ล้านปีมาแล้ว

                                 การเกิดถ้ำเจ้าไหม-เจ้าคุณ : เป็นถ้ำที่เกิดจากการละลาย ในอดีตยุคเพอร์เมียน
                   เมื่อประมาณ 299 – 252 ล้านปีก่อน บริเวณนี้เคยเป็นทะเลมาก่อนมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ในทะเลเป็นจำนวนมาก
                   เช่น ฟูซูลินิด แบรคิโอพอด ปะการัง ฟองน้ำ ไครนอยด์ หอยฝาเดียว และหอยสองฝา เป็นต้น เมื่อเวลา
                   ผ่านไปตะกอนคาร์บอเนตที่สะสมอยู่ในทะเลผ่านกระบวนทางธรณีวิทยาแข็งตัวกลายเป็นหินปูน พร้อมทั้ง

                   สิ่งมีชีวิตที่เคยอาศัยอยู่ในทะเลก็กลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ ต่อมาเกิดการเปลี่ยนแปลงของแผ่นเปลือกโลก
                   ทำให้ชั้นหินถูกยกตัวขึ้นกลายเป็นภูเขาหินปูน ก่อให้เกิดโครงสร้างธรณีวิทยา เช่น ชั้นหินคดโค้ง รอยแตก
                   และรอยเลื่อนภายในชั้นหินจำนวนมาก เป็นต้น น้ำฝนที่รวมตัวกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ

                                ่
                   มีฤทธิ์เป็นกรดออน ไหลซึมเข้าไปตามรอยแตกและรอยเลื่อน ทำให้รอยแตกและรอยเลื่อนขยายขนาดใหญ่ขึ้น
                   เพดานถ้ำบางและรองรับน้ำหนักไม่ไหว เกิดการถล่มรวมจนเกิดเป็นโถงถ้ำขนาดใหญ่ น้ำฝนที่รวมตัวกับ
                   ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ไหลซึมเข้าไปตามรอยแตกและรอยเลื่อน
                   ละลายหินปูนไหลเข้ามาในโถงถ้ำแห้งเกิดประติมากรรมถ้ำจำนวนมาก เช่น หินย้อยย้อนแสง หินย้อย
                   หินงอก หินน้ำไหล เสาหิน ทำนบหินปูน ไข่มุกถ้ำ และม่านหินย้อย เป็นต้น


                                 แนวทางในการบริหารจัดการแหล่ง : แหล่งนี้มีศักยภาพในการพัฒนาและการบริหาร
                   จัดการอยู่ในระดับปานกลางสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับจังหวัดได้ แหล่งเรียนรู้เรื่องถำ ควรมี
                                                                                                   ้
                   แผ่นพับข้อควรปฏิบัติในการเที่ยวถ้ำ แสดงแผนผังภายในถ้ำและลักษณะการเกิดของถ้ำ รวมถึงการเกิด
                   ประติมากรรมถ้ำ เช่น หินย้อยย้อนแสง หินย้อย หินงอก หินน้ำไหล เสาหิน ทำนบหินปูน ไข่มุกถ้ำ และ
                   ม่านหินย้อย เป็นต้น
   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88