Page 1 - เรื่องที่ ๑๔-๒๕๖๔ ระบบกล่าวหาและระบบไต่สวน
P. 1

เรื่องที่ ๑๔/๒๕๖๔
                                                                                       วันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๖๔

                                                                 ั
                                 ระบบกล่าวหาและระบบไต่สวนกบบทบาทของคู่ความและศาล











                                                                                                            
                                                                                       ดร.ธนกฤต วรธนัชชากุล

                                เรื่องระบบกล่าวหาและระบบไต่สวนกับบทบาทของคู่ความและศาลนี้ ประการแรกจะได้กล่าวถึง
                  ระบบกล่าวหากับบทบาทของคู่ความและศาล และจากนั้นจะได้กล่าวถึงระบบไต่สวนกับบทบาทของคู่ความ

                  และศาล เป็นประการต่อไป
                                ๑.  ระบบกล่าวหา (Accusatorial Procedure) กับบทบาทของคู่ความและศาล
                                ในเรื่องระบบกล่าวหา (Accusatorial Procedure) กับบทบาทของคู่ความและศาลจะได้กล่าวถง
                                                                                                            ึ
                  ลักษณะของระบบกล่าวหาในเชิงโครงสร้าง และลักษณะสำคัญของระบบกล่าวหาที่มีผลต่อบทบาทของคู่ความ

                  และศาล
                                ๑.๑ ลักษณะของระบบกล่าวหาในเชิงโครงสร้าง
                                ระบบวิธีพิจารณาคดีแบบกล่าวหาเป็นระบบวิธีพิจารณาคดีที่เปิดเผย (Public) ใช้วาจา (Oral)
                                                                                                  ี
                                                                              ื
                  และมีการโต้แย้งคัดค้าน (Contradictory) ของคู่ความทั้ง ๒ ฝ่าย กล่าวคอ ระบบกล่าวหา เป็นวิธพิจารณาคดี
                  ที่เปิดเผย ไม่ใช้วิธีพิจารณาคดีแบบลับ ทำให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าร่วมฟังการพิจารณาคดีได้ ประชาชน
                  ทั่วไปสามารถพบเห็นโจทก์ จำเลย ผู้พิพากษาในห้องพิจารณาคดีได้ เป็นวิธีพิจารณาคดีที่ใชวาจา เพื่อให้ทุกคน
                                                                                             ้
                  สามารถได้ยินและเข้าใจได้ โดยไม่มีความจำเป็นต้องใช้เอกสารแต่อย่างใด นอกจากนี้ ระบบกล่าวหายังมีความ

                  เหมาะสมกับสภาพสังคมในยุคดั้งเดิม ซึ่งมีเพียงคนส่วนน้อยเท่านั้นที่จะสามารถเขียนหนังสือได้ และเป็นวธ ี
                                                                                                           ิ
                  พิจารณาคดีที่มีการโต้แย้งคัดค้าน (une procédure contradictoire) ระหว่างคู่ความในคดี การดำเนินคดีต้อง
                                                                                               ๑
                  กระทำต่อหน้าคู่ความทั้งโจทก์และจำเลย และคู่ความในคดีสามารถใช้สิทธิต่อสู้โต้แย้งได้เสมอ



                    น.บ. (ธรรมศาสตร์) น.บ.ท. D.S.U. (PANTHÉON-ASSAS (PARIS II)) สาขากฎหมายแพ่ง, D.E.A. สาขากฎหมายเอกชน, DOCTORAT
                  EN DROIT PRIVÉ (NOUVEAU RÉGIME) STRASBOURG (เกียรตินิยมดีมาก) สาขากฎหมายเอกชน, ผู้อำนวยการสำนักงาน
                  ประสานงานกระบวนการยุติธรรม สถาบันนิติวัชร์ สำนักงานอัยการสูงสุด
                  ๑  วรรณชัย บุญบำรุง, ธนกฤต วรธนัชชากุล, สิริพันธ์ พลรบ, หลักและทฤษฎีกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เล่ม ๑, พิมพ์
                  ครั้งที่ ๒ (กรุงเทพมหานคร : สำนกพิมพ์วิญญูชน, ๒๕๔๙), หนา ๗๘.
                                                               ้
                                          ั
   1   2   3   4   5   6