Page 140 - แผนยุทธศาสตร์พัฒนาสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 3
P. 140
ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น
ประเพณีรับบัว
ประเพณีรับบัวเกิดจากชาวมอญพระประแดงที่ไปท้านาในฤดูท้านา ณ อ้าเภอบางพลี และเมื่อหมด
ฤดูก็จะกลับไปพระประแดง ซึ่งจะพอดีกับเทศกาลออกพรรษา จึงเก็บดอกบัวที่มีอยู่มากมายที่ต้าบลบางพลี
ใหญ่กลับไปด้วย ต่อมาชาวอ้าเภอบางพลีเห็นว่าชาวมอญมักจะเก็บดอกบัวกลับไปทุกปี จึงเก็บดอกบัวเตรียม
ไว้ให้ด้วยความเอื้อเฟื่อเผื่อแผ่ ในระยะแรกมีการส่งให้กับมือ ต่อมาเกิดความคุ้นเคยกันมากขึ้น จึงโยนบัวให้กัน
หากอยู่ไกลต่อมาชาวบ้านซึ่งนิยมถวายดอกบัวแก่พระในวันออกพรรษาจึงได้สร้างกิจกรรม งานประเพณีรับบัว
ให้ได้มีการระลึกถึงกันและเป็นโอกาสให้ได้ร่วมท้าบุญท้ากุศล อีกทั้งยังเป็นการร่วมสนุกกันเป็นประจ้าทุกปี
สงกรานต์พระประแดง
เป็นงานประเพณีสงกรานต์ที่ยิ่งใหญ่ จัดโดยความร่วมแรงร่วมใจของชาวไทยเชื้อสายมอญ ในแต่ละปี
สงกรานต์พระประแดงจะเริ่มในวันอาทิตย์แรกหลังวันที่ ๑๓ เมษายน ซึ่งเดิมเรียกว่า สงกรานต์ปากลัด ใน
งานมีขบวนแห่นางสงกรานต์ การละเล่นพื้นเมืองของชาวมอญ เช่น การสรงน้้าพระ รดน้้าขอพรผู้ใหญ่ ปล่อย
นกปล่อยปลา การเล่นสะบ้า และเล่นสาดน้้ากันอย่างสนุกสนาน ขบวนแห่นางสงกรานต์จะมีสาวงามแต่งชุด
ไทยหรือชุดรามัญ(มอญ) เดินแถวเรียงหนึ่ง ส่วนหนึ่งถือโหลปลา และอีกส่วนหนึ่งถือกรงนก เดินน้าหน้ารถนาง
สงกรานต์ขนาบข้างด้วยชายหนุ่มชาวรามัญที่แต่งกายด้วยผ้าโสร่ง สวมเสื้อคอกลม ห่มผ้าสไบคล้องคอ ตวัด
ชายสไบไปด้านหลังซึ่งเรียกว่าชุดลอยชาย
งานนมัสการหลวงพ่อปาน
งานนมัสการหลวงพ่อปานถือเป็นงานประจ้าปีของชาวอ้าเภอบางบ่อ งานนี้เกิดขึ้นจากคุณความดีแล
คุณธรรมอันสูงส่งของหลวงพ่อปาน พุทธศาสนิกชนหลั่งไหลกันมาวัดมงคลโคธาวาส เพื่อนมัสการรูปหล่อ
จ้าลองของหลวงพ่อปาน ทุกปีงานนมัสการหลวงพ่อปาน จัดขึ้นในวันขึ้น 5 – 7 ค่้า เดือน 12ของปี รวม 3 วัน
3 คืน โดยในวันแรกของงานจะมีการอันเชิญรูปหล่อของหลวงพ่อปานแห่ทางเรือไปตามล้าคลองปีกกา เพื่อให้
ประชาชนสักการะแล้วแห่กลับวัดมงคลโคธาวาส หลังจากเสร็จสิ้นการกราบไหว้บูชาแล้ว ประชาชนจะ
สนุกสนานรื่นเริงกับ มหรสพต่าง ๆ
งานนมัสการองค์พระสมุทรเจดีย์
งานนมัสการองค์พระสมุทรเจดีย์ เป็นงานประเพณีที่ชาวสมุทรปราการสืบสานกันมายาวนานกว่า
185 ปี เพราะองค์พระสมุทรเจดีย์เป็นที่เคารพสักการะที่ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่อจิตใจของชาวสมุทรปราการ
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้้าเจ้าพระยา ชาวสมุทรปราการจึงจัดให้มีงานประเพณีนมัสการองค์พระสมุทร
เจดีย์ขึ้นเป็นประจ้าทุกปี ซึ่งถือเป็นประเพณีที่ส้าคัญของชาวจังหวัดสมุทรปราการ งานนมัสการองค์พระ
สมุทรเจดีย์จัดให้มีการสมโภชเป็นเวลา 9 วัน 9 คืน ตั้งแต่วันแรม 5ค่้า เดือน 11 ในงานประเพณีจะมีมหรสพ
สมโภชมีการแข่งเรือ และการจ้าหน่ายสินค้าชุมชน
งานประเพณีแห่หงส์ธงตะขาบ
ธงตะขาบเป็นประเพณีของอ้าเภอพระประแดง โดยเฉพาะประเพณีเริ่มต้นมานานกว่า 30 ปี จะจัด
ขึ้นทุกวันที่ 13 เมษายนของทุกปี โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อร้าลึกถึงบรรพบุรุษชาวมอญ หงส์ เป็นสัญลักษณ์
ตัวแทนต้านานการก้าเนิดถิ่นฐานของมอญ ณ กรุงหงสาวดี และตะขาบเป็นสัญลักษณ์ของคติธรรม ความเชื่อ