Page 75 - แผนยุทธศาสตร์พัฒนาสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 3
P. 75
การศึกษาภาคเอกชน มูลค่าเพิ่ม ณ ราคาประจ้าปีมีมูลค่าเท่ากับ 80 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจาก 64
ล้านบาทในปีที่ผ่านมา ส่วนอัตราขยายตัวของมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 54.6 จากร้อยละ
25.5 ในปีที่ผ่านมา โดยมีกิจกรรมที่ส้าคัญ ได้แก่
การศึกษาขั้นพื้นฐานตั้งแต่อนุบาลมัธยมศึกษาไม่สามารถแยกระดับได้ ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
ร้อยละ88.3 จากร้อยละ 47.0 ในปีที่ผ่านมา เนื่องจากมีจ้านวนนักเรียนเพิ่มขึ้น ท้าให้มีรายได้จากค่าธรรมเนียม
พิเศษเพิ่มขึ้น เช่น ค่าใช้บริการห้องคอมพิวเตอร์ ค่าสอนเสริมนอกเวลาเรียน เป็นต้น
การศึกษาผู้ใหญ่และการศึกษาอื่นๆ ขยายตัวร้อยละ 41.2 จากการหดตัวร้อยละ 5.6 ในปีที่ผ่านมา
เป็นผลจากจ้านวนโรงเรียนกวดวิชาในส่วนของโรงเรียนเตรียมทหารเพิ่มขึ้นและการปรับเพิ่มอัตราค่าเล่าเรียน
ของโรงเรียนกวดวิชาบางแห่ง
สาขาการบริการด้านสุขภาพและงานสังคมสงเคราะห์
ภาพรวม
1) มูลค่าเพิ่ม ณ ราคาประจ าปี สาขาการบริการด้านสุขภาพและงานสังคมสงเคราะห์ของจังหวัด
นครนายกในปี 2555 มีมูลค่า 725 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 643 ล้านบาท ในปีที่ผ่านมาเท่ากับ 82 ล้านบาท
2) อัตราการขยายตัวของมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ในปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 8.3 จากการหดตัวร้อย
ละ 2.0 ในปีที่ผ่านมา เนื่องจากการขยายตัวของการบริการสุขภาพภาครัฐบาล โดยเฉพาะโรงพยาบาลทั่วไป
ประกอบกับการขยายตัวของการบริการด้านสังคมสงเคราะห์แบบให้ที่พักของเอกชน เป็นส้าคัญ
3) โครงสร้างรายได้จากการผลิต สาขาบริการด้านสุขภาพและงานสังคมสงเคราะห์ ในปี 2555
พิจารณาจากสัดส่วนมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาประจ้าปีของจังหวัดนครนายกประกอบด้วย การบริการสุขภาพและ
สังคมสงเคราะห์ภาครัฐร้อยละ 96.5 และการบริการสุขภาพและสังคมสงเคราะห์ภาคเอกชน ร้อยละ 3.5
ดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด สาขาการบริการด้านสุขภาพและงานสังคมสงเคราะห์
ในปี 2555 เท่ากับ 110.0 เพิ่มขึ้นจาก 105.6 ในปี 2554 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของ
ดัชนีราคาโรงพยาบาลทั่วไปของรัฐ ส้านักงานทันตแพทย์ภาคเอกชนและบริการด้านสังคมสงเคราะห์แบบไม่ให้
ที่พักภาครัฐเป็นส้าคัญ
ภาวะการผลิตกิจกรรมที่ส าคัญ
การบริการสุขภาพและสังคมสงเคราะห์ ภาครัฐบาลมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาประจ้าปี เท่ากับ 700 ล้าน
บาท เพิ่มขึ้นจาก 618 ล้านบาท ในปีที่ผ่านมา ส่วนอัตราการขยายตัวของมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวร้อย
ละ 8.5 จากการหดตัวร้อยละ 2.6 ในปีที่ผ่านมา เป็นผลมาจากโรงพยาบาลทั่วไป ขยายตัวร้อยละ 9.4
การบริการสุขภาพและสังคมสงเคราะห์ภาคเอกชน มูลค่าเพิ่ม ณ ราคาประจ้าปี มีมูลค่า 25 ล้าน
บาท เพิ่มขึ้นจาก 24 ล้านบาท ในปีที่ผ่านมา ส่วนอัตราขยายตัวของมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ชะลอตัวร้อยละ
2.6 จากการขยายตัวร้อยละ 18.9 ในปีที่ผ่านมา โดยมีกิจกรรมที่ส้าคัญได้แก่
บริการด้านสังคมสงเคราะห์แบบ ให้ที่พักขยายตัวร้อยละ 28.5 เป็นผลมาจากที่มีการปรับอัตรา
ค่าจ้างและค่าเบี้ยเลี้ยงของลูกจ้างเพิ่มขึ้น