Page 70 - แผนยุทธศาสตร์พัฒนาสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 3
P. 70
บริการโทรศัพท์ มูลค่าเพิ่ม ณ ราคาประจ้าเท่ากับ 43 ล้านบาท ส่วนมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่หดตัว
ร้อยละ 14.4 เป็นผลมาจากผู้บริโภคเปลี่ยนการใช้บริการไปเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่แทน
บริการรายการโทรทัศน์ทางสายเคเบิล มูลค่าเพิ่ม ณ ราคาประจ้าปี เท่ากับ 0.1 ล้านบาท
ส่วนมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ หดตัวร้อยละ 67.9 เป็นผลมาจากผู้บริโภคลดการใช้บริการทางสายเคเบิลมาเป็น
เชื้อจานดาวเทียมแทน
บริการที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งและบริการด้านการท่องเที่ยว มูลค่าเพิ่ม ณ ราคาประจ้าปี เท่ากับ 1
ล้านบาท ส่วนอัตราการขยายตัวของมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ หดตัวร้อยละ 32.4 จากการขยายตัว ร้อยละ 37.1
ในปีที่ผ่านมา เป็นผลมาจากการหดตัวของกิจกรรมสถานีขนส่ง เนื่องจากจ้านวนรถโดยสารประจ้าทางลดลง
จากการปรับเปลี่ยนประเภทรถโดยสารขนาดใหญ่เป็นรถโดยสารขนาด 15 ที่นั่ง จึงส่งผลท้าให้รายได้
จากการใช้บริการสถานีขนส่งลดลงตามไปด้วย
สาขาตัวกลางทางการเงิน
1) มูลค่าเพิ่ม ณ ราคาประจ าปี สาขา ตัวกลางทางการเงินของจังหวัดนครนายก ในปี 2555 มีมูลค่า
เท่ากับ 724 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 652 ล้านบาท ในปีที่ผ่านมาเท่ากับ 72 ล้านบาท
2) อัตราการขยายตัวของมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ในปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 11.6 ชะลอลง
จากร้อยละ 13.9 ในปีที่ผ่านมา เนื่องจากหมวดสถาบันการเงิน (ธนาคาร) ซึ่งเป็นโครงสร้างหลักของ
สาขาชะลอตัวลง ในขณะที่หมวดการประกันชีวิตฯและหมวดตัวกลางทางการเงินอื่นๆมีการขยายตัว
3) โครงสร้างรายได้จากการผลิต สาขาตัวกลางทางการเงิน ในปี 2555 พิจารณาจากสัดส่วน
มูลค่าเพิ่ม ณ ราคาประจ้าปีของจังหวัดนครนายก ประกอบด้วย สถาบันการเงิน (ธนาคาร) ร้อยละ 74.4
การประกันชีวิตฯ ร้อยละ 18.0 และตัวกลางทางการเงินอื่นๆ ร้อยละ 7.6
ดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด สาขาตัวกลางทางการเงิน ในปี 2555 เท่ากับ 105.6 ลดลง 106.1
ในปี 2554 หรือลดลงร้อยละ 0.5 เป็นผลมาจากการลดลงของดัชนีราคาผู้บริโภคในภาพรวม
ภาวการณ์ผลิตกิจกรรมที่ส าคัญ
สถาบันการเงิน (ธนาคาร) มูลค่าเพิ่ม ณ ราคาประจ้าปี มีมูลค่าเท่ากับ 539 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 476
ล้านบาท ในปีที่ผ่านมา ส่วนมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวร้อยละ 13.8 ชะลอลงจากร้อยละ 20.9 ในปีที่
ผ่านมา โดยมีกิจกรรมที่ส้าคัญ ได้แก่
ธนาคารพาณิชย์ ขยายตัวร้อยละ 15.3 จากการหดตัวร้อยละ 10.1 ในปีที่ผ่านมา เป็นผล มาจาก
ดอกเบี้ยจ่ายลดลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากมีการจ่ายดอกเบี้ยให้กับผู้ฝากเงินลดลง ในอัตราที่สูงกว่า
การลดลงของดอกเบี้ยรับ
ธนาคารเฉพาะกิจ ขยายตัวอย่างต่อเนื่องร้อยละ 21.2 จากร้อยละ 9.4 ในปีที่ผ่านมา เป็นผลมาจาก
รายได้ดอกเบี้ยรับจากการให้สินเชื่อ เพิ่มสูงขึ้นตามอัตราการขยายตัวของสินเชื่อ
สหกรณ์เกษตร หดตัวร้อยละ 0.5 จากการขยายตัวร้อยละ 0.5 ในปีที่ผ่านมา