Page 66 - แผนยุทธศาสตร์พัฒนาสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 3
P. 66

ตารางที่ 19 เครื่องชี้ภาวการณ์ผลิตหมวดการก่อสร้างภาครัฐ

                                                              จ านวน                   อัตราขยายตัว(ร้อยละ)
                            รายการ
                                                 2553          2554          2555        2554       2555

                     งบประมาณรายจ่ายงบ          1,546.71     1,375.77      1,977.66      -11.0      43.7

                     ลงทุน(ล้านบาท)
                  ที่มา: ส้านักงานคลังจังหวัดนครนายก


                  สาขาการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ จักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ใน
                  ครัวเรือน

                  ภาพรวม

                      1) มูลค่าเพิ่ม ณ ราคาประจ าปี สาขาการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ จักรยานยนต์

                  ของใช้ส่วนบุคคล และของใช้ในครัวเรือนของจังหวัดนครนายก ในปี 2555 มูลค่าเท่ากับ 1,953 ล้านบาท

                  ลดลงจาก 1,974 ล้านบาท ในปีที่ผ่านมา เท่ากับ 21 ล้านบาท

                      2) อัตราการขยายตัวของมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวร้อยละ 4.8 จากการหดตัวร้อยละ 2.2

                  ในที่ผ่านมา เป็นผลมาจากการขยายตัวของหมวดการขายปลีกซึ่งเป็นหมวดหลัก ขยายตัวร้อยละ 7.0 ในขณะที่
                  หมวดการขายส่งและหมวดการซ่อมแซมปรับตัวดีขึ้นจากการหดตัวในปีที่ผ่านมา


                      3) โครงสร้างรายได้จากการผลิต สาขาการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ จักรยานยนต์
                  ของใช้ส่วนบุคคล และของใช้ในครัวเรือน ในปี 2555 พิจารณาจากสัดส่วน มูลค่าเพิ่ม  ณ ราคาประจ้าปีของ

                  จังหวัดนครนายก ประกอบด้วย การขายปลีก ร้อยละ 80.3 การซ่อมแซม ร้อยละ 16.7 การขายส่ง ร้อยละ 2.3
                  และกิจกรรมสหกรณ์การเกษตร ร้อยละ 0.7 ตามล้าดับ

                        ดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด สาขาการขายส่ง การขายปลีกฯ ในปี 2555 เท่ากับ 100.1

                  ลดลงจาก 106.1 ในปี 2554 หรือหดตัวร้อยละ 5.6 เป็นผลมาจากการลดลงของดัชนีราคาขายสินค้ารายการ
                  ที่ส้าคัญ การขายปลีกยานยนต์ เป็นต้น

                  ภาวะการผลิตกิจกรรมที่ส าคัญ

                        การขายปลีก มูลค่าเพิ่ม ณ ราคาประจ้าปี มีมูลค่าเท่ากับ 1,569 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 1,567 ล้านบาท
                  ในปีที่ผ่านมา ส่วนอัตราการขยายตัวของมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวร้อยละ 7.0 จากการขยายตัวของ

                  กิจกรรมที่ส้าคัญได้แก่

                         ร้านขายของช า ขยายตัวร้อยละ 13.4 เนื่องจากผู้บริโภคส่วนใหญ่ใช้จ่ายในการซื้อสินค้าเพื่อการ

                  บริโภคภายในจังหวัด เพิ่มขึ้น

                         ร้านขายปลีกสินค้าอื่นๆ ซึ่งไม่ได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น ขยายตัวร้อยละ 10.3 เป็นผลมาจากผู้ประกอบ

                  มีรายได้จากการจ้าหน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มขึ้นเพราะโทรศัพท์เป็นปัจจัยส้าคัญในการติดต่อสื่อสารมีการ
                  พัฒนาระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัย จึงเป็นแรงจูงใจให้กับผู้บริโภคตัดสินใจซื้อตามความสามารถของตน
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71