Page 61 - แผนยุทธศาสตร์พัฒนาสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 3
P. 61
3) โครงสร้างรายได้จากการผลิต สาขาอุตสาหกรรม(การผลิต) ในปี 2555 พิจารณาจากสัดส่วน
มูลค่าเพิ่ม ณ ราคาประจ้าปีของจังหวัดนครนายก ประกอบด้วยการผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ร้อยละ
65.6 การผลิตเครื่องจักร ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าและเครื่องมือไฟฟ้า ซึ่งมิได้ จัดประเภทไว้ในที่อื่น ร้อยละ 7.5
การผลิตยานยนต์รถพ่วงและรถกึ่งรถพ่วง ร้อยละ 6.5 การผลิตผลิตภัณฑ์ยางและผลิตภัณฑ์พลาสติก ร้อยละ
6.1 การผลิตเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี ร้อยละ 5.0 และการผลิตอื่นๆ ร้อยละ 9.3
ดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด สาขาอุตสาหกรรม(การผลิต) ในปี 2555 เท่ากับ 131.0
ลดลงจาก 136.8 ในปี 2554 หรือลดลง ร้อยละ 4.2 เป็นผลมาจากการลดลงของดัชนีราคาหมวด
การผลิตผลิตภัณฑ์ยางและผลิตภัณฑ์พลาสติกและหมวดการผลิตเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมีเป็นส้าคัญ
ภาวะการผลิตกิจกรรมที่ส าคัญ
การผลิตผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม มูลค่าเพิ่ม ณ ราคาประจ้าปี มีมูลค่าเท่ากับ 2,530 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นจาก 1,512 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา ส่วนอัตราการขยายตัวของมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวร้อยละ
50.2 จากการหดตัวร้อยละ 56.3 ในปีที่ผ่านมาโดยมีกิจกรรมที่ส้าคัญ ได้แก่
การฆ่าไก่ ขยายตัวร้อยละ 32.6 จากการหดตัวร้อยละ 49.9 ในปีที่ผ่านมา เนื่องจาก มีการระบาดของ
โรคไข้หวัดนกท้าให้ความต้องการบริโภคไก่ลดลงซึ่ง ในปี พ.ศ.2552 ปัญหาเรื่องไข้หวัดนกลดลงประชาชนจึง
หันมาบริโภคไก่เพิ่มส่งผลให้ปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้นการผลิตผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์อื่นๆ ขยายตัวร้อยละ 2,305.3
เนื่องจากผู้ประกอบการผลิตได้ขยายการผลิตอาหารส้าเร็จรูปจากเนื้อไก่แช่แข็ง เพื่อส่งออกซึ่งมีปริมาณที่สูงมาก
เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
โรงสีข้าว ขยายตัวร้อยละ 0.3 จากการ หดตัวร้อยละ 62.9 ในปีที่ผ่านมา เนื่องจากเกษตรกรเพิ่มพื้นที่
การปลูกข้าว ส่งผลให้มีปริมาณข้าวเปลือกส่งเข้าโรงสีเพิ่มขึ้น
ตารางที่ 14 เครื่องชี้ภาวะการณ์ผลิตหมวดการผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม
ปริมาณผลผลิต (ตัน) อัตราขยายตัว(ร้อยละ)
รายการ
2553 2554 2555 2554 2555
การฆ่าไก่ 52,160 26,156 34,676 -49.9 32.6
การผลิตผลิตภัณฑ์ 1,142 923 27,221 -19.2 2,85.5
เนื้อสัตว์อื่นๆ
โรงสีข้าว 410,683 151,845 149,262 -63.0 -1.7
ที่มา: ส้านักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนครนายก
การผลิตสิ่งทอสิ่งถัก มูลค่าเพิ่ม ณ ราคา ประจ้าปีมีมูลค่าเท่ากับ 83 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจาก 19 ล้าน
บาท ในปีที่ผ่านมา ส่วนอัตราการขยายตัวของมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวอย่างต่อเนื่องร้อยละ 277.7