Page 56 - แผนยุทธศาสตร์พัฒนาสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 3
P. 56
ดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด สาขาเกษตรกรรมฯ ในปี 2555 เท่ากับ 137.7 ลดลงจาก 138.7
ในปี 2554 หรือลดลงร้อยละ 0.7 เป็นผลมาจากราคาผลผลิตหมวดการปลูกพืชซึ่งเป็นโครงสร้างหลักปรับตัวลดลงและ
หมวดการบริการทางการเกษตร ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
ภาวการณ์ผลิตกิจกรรมที่ส าคัญ
การปลูกพืช มูลค่าเพิ่ม ณ ราคาประจ้าปี มีมูลค่าเท่ากับ 2,245 ล้านบาท ลดลงจาก 2,928 ล้านบาท
ในปีที่ผ่านมา ส่วนอัตราการขยายตัวของมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่หดตัวในอัตราร้อยละ 0.4 จากที่ขยายตัวร้อยละ
7.1 ในปีที่ผ่านมา การหดตัวดังกล่าวมาจากกิจกรรมที่ส้าคัญ ได้แก่ มะม่วง หดตัวร้อยละ 87.1 เป็นผลมาจาก
เกษตรกรลดพื้นที่การเพาะปลูกลงและหันมาปลูกมะยงชิดแทน ส้าหรับกิจกรรมที่ส่งผลต่อการขยายตัวของ
สาขาฯ ได้แก่
ข้าวนาปี ขยายตัวร้อยละ 47.0 เนื่องจากราคาผลผลิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องราคาผลผลิตเพิ่มขึ้น
อย่างต่อเนื่องจึงเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรรมเพิ่มพื้นที่การเพาะปลูกส่งผลให้ปริมาณ ผลผลิตเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย
มะยงชิด ขยายตัวร้อยละ 2.5 เนื่องจากเป็นผลไม้เศรษฐกิจของจังหวัดซึ่งเป็นที่นิยมของผู้บริโภค
เกษตรกรจึงเพิ่มพื้นที่การเพาะปลูกส่งผลให้ปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
ตารางที่ 6 เครื่องชี้ภาวการณ์ผลิตหมวดพืชอัตราขยายแล้ว(ร้อยละ)
รายการ ปริมาณผลผลิต(ล้านฟอง) อัตราขยายตัว(ร้อยละ)
2553 2554 2555 2554 2555
ปริมาณผลผลิต (ตัน)
ข้าวนาปี 166,759 171,017 251,361 2.6 47.0
มะยงชิด 3,179 3,690 3,782 16.1 2.5
มะม่วง 14,810 12,672 1,631 -14.4 -87.1
พื้นที่เพาะปลูก(ไร่)
ข้าวนาปี 347,415 347,596 508,827 0.1 46.4
มะยงชิด 5,272 5,272 6,272 0.0 19.0
มะม่วง 15,840 15,840 10,838 0.0 -31.6
ที่มา:ส้านักงานเกษตรจังหวัดนครนายก
การปศุสัตว์ มูลค่า ณ ราคาประจ้าปีมีมูลค่าเท่ากับ 1,840 ล้านบาท ในปีที่ผ่านมา ส่วนอัตราการ
ขยายตัวของมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัวร้อยละ5.3 จากที่หดตัวร้อยละ 8.5 ในปีที่ผ่านมาจากการขยายตัว
ของไข่ไก่ ขยายตัวร้อยละ 2.5 จากการหดตัวร้อยละ 2.4 ในปีที่ผ่านมา เป็นผล มาจากผู้ประกอบการรายใหญ่
เพิ่มโรงเรือนที่ใช้เลี้ยง ไก่ไข่ ท้าให้ปริมาณผลผลิตเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา