Page 62 - แผนยุทธศาสตร์พัฒนาสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 3
P. 62
จากการขยายตัวร้อยละ 230.8 ในปีที่ผ่านมาเป็นผลมาจาก การปั่น ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 290.2 เนื่องจาก
มีค้าสั่งซื้อจากลูกค้าเพิ่มขึ้นส่งผลให้โรงงานปั่นด้ายมีการเพิ่มก้าลังการผลิต
การผลิตไม้ ผลิตภัณฑ์จากไม้ฯ มูลค่าเพิ่ม ณ ราคาประจ้าปี มีมูลค่าเท่ากับ 69 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก
57 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา ส่วนอัตราการขยายตัวของมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวอย่างต่อเนื่องร้อยละ
187.4 จากการขยายตัวร้อยละ 74.0 ในปีที่ผ่านมา โดยมีกิจกรรมที่ส้าคัญ ได้แก่
การเลื่อยไม้ ไสไม้ ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 2680.7 เนื่องจากการก่อสร้างภาครัฐในจังหวัดเพิ่มขึ้นส่งผล
ให้ความต้องการใช้ไม้แบบ วงกบ ประตูและหน้าต่างเพิ่มสูงขึ้น
การผลิตผลิตภัณฑ์จากแร่อโลหะ มูลค่าเพิ่ม ณ ราคาประจ้าปี มีมูลค่าเท่ากับ 120 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
จาก 60 ล้านบาท ในปีที่ผ่านมาส่วนอัตราการขยายตัวของมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวร้อยละ 64.5
จากการหดตัว ร้อยละ 38.2 ในปีที่ผ่านมา เป็นผลมาจากการผลิตคอนกรีตผลสมเสร็จ (Ready-Mix Concrete)
ขยายตัวถึงร้อยละ 172.2 เนื่องจากประชาชนหันมาใช้บริการเพิ่มขึ้น เพราะมีความสะดวกสามารถ
ประหยัดเวลาในการก่อสร้างได้
การผลิตเครื่องจักรที่ใช้พลังงานไฟฟ้า และเครื่องมือไฟฟ้าซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น มูลค่าเพิ่ม
ณ ราคาประจ้าปี มีมูลค่าเท่ากับ 287 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 37 ล้านบาท ในปีที่ผ่านมา ส่วนอัตราการขยายตัว
ของมูลคาเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 366.2 จากการขยายตัวร้อยละ 179.5 เป็นผลมา
จากการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ไฟฟ้าส้าหรับเครื่องยนต์และยานยนต์ขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 336.2 เนื่องจากมี
การสั่งซื้อจากลูกค้าเพิ่มมากขึ้น
โครงการไฟฟ้า ก๊าซ และการประปา
ภาพรวม
1) มูลค่าเพิ่ม ณ ราคาประจ าปี สาขาการไฟฟ้า ก๊าซและประปาของจังหวัดนครนายก ในปี 2555
มีมูลค่า 508 ล้านบาท ลดลงจาก 621 ล้านบาท ในปีที่ผ่านมาเท่ากับ 113 ล้านบาท
2) อัตราการขยายตัวของมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ในปี 2555 หดตัวร้อยละ 9.6 จากการขยายตัว
ร้อยละ 52.9 ในปีที่ผ่านมา เป็นผลมาจากการหดตัวของหมวดไฟฟ้าได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
(กฟผ.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เป็นส้าคัญ
3) โครงสร้างรายได้จากการผลิต สาขาการไฟฟ้า ก๊าซ และประปา ในปี 2552 พิจารณาจากสัดส่วน
มูลค่าเพิ่ม ณ ราราประจ้าปีของจังหวัดนครนายก ประกอบด้วยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ร้อยละ 53.0 การไฟฟ้า
ฝ่ายผลิตร้อยละ 34.6 การประปาส่วนภูมิภาค ร้อยละ 10.4 และการประปาหมูบ้านร้อยละ 2.0
ดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด สาขาการไฟฟ้า ก๊าซ และประปา ในปี 2555 เท่ากับ 76.3
ลดลงจาก 84 .4 ในปี 2554 หรือลดลงร้อยละ 9.6 เป็นผลมาจากการลดลงของดัชนีราคาการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
(กฟภ.) เป็นส้าคัญ