Page 30 - Q15-COJ
P. 30

ล่ามอาสาประจำาศาล (Standby Court Interpreter)

               การเข้าร่วมพัฒนาเศรษฐกิจตามแผนประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนส่งผลให้การเชื่อมต่อระหว่าง

        ประชาชนในกลุ่มประเทศอาเซียนขยายตัว ทั้งยังส่งผลให้การทำางานด้านกระบวนการศาลยุติธรรมระหว่าง
        ประเทศไทยกับประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นเรื่องที่มีความสำาคัญยิ่งกว่าที่ผ่านมาการมีล่าม
        เพื่อสื่อสารภาษาระหว่างคู่ความ ผู้เสียหาย และพยาน ซึ่งเป็นชาวต่างชาติที่ต้องพึ่งพากระบวนการยุติธรรม

        ของศาลยุติธรรมของไทยจึงเป็นเรื่องที่มีความจำาเป็นอย่างยิ่ง

               ศาลยุติธรรมจึงจัดให้มีโครงการล่ามอาสาประจำาศาล (Standby Court Interpreter) เพื่อสนับสนุน
        การปฏิบัติหน้าที่ล่ามของสำานักงานศาลยุติธรรม  โดยผู้ที่เข้าร่วมโครงการถือเป็นล่ามอิสระของสำานักงาน
        ศาลยุติธรรมซึ่งสมัครใจเข้ามาทำางานด้วยจิตสาธารณะเพราะเล็งเห็นถึงความสำาคัญของการการคุ้มครอง

        สิทธิและเสรีภาพของประชาชนเป็นที่ตั้งภายใต้การดำาเนินงานของโครงการดังกล่าวนี้  นับเป็นส่วนหนึ่ง
        ของการเพิ่มศักยภาพในกระบวนการศาลยุติธรรมของไทยให้เป็นที่ประจักษ์ต่อประชาคมโลกมากยิ่งขึ้น



        9. ประโยชน์ที่ประชาชนได้รับจากการที่ศาลยุติธรรม

                                                       เป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร




               การที่ศาลยุติธรรมเป็นหน่วยงานอิสระก่อให้เกิดผลดีต่อประชาชน ดังนี้

               ประการแรก      การที่ศาลยุติธรรมแยกเป็นอิสระจากกระทรวงยุติธรรมประชาชนจะเข้าใจและ
        เชื่อมั่นได้ว่าอำานาจตุลาการมีความเป็นอิสระอย่างแท้จริง  สามารถเป็นหลักประกันการอำานวยความยุติธรรม
        ให้แก่ประชาชนแม้ในกรณีที่ประชาชนมีคดีพิพาทกับฝ่ายบริหารก็ตาม

               ประการที่สอง   ประชาชนจะได้รับความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้นในการรับบริการ เนื่องจากศาลยุติธรรม

        มีอิสระในการบริหารงานบุคคลการงบประมาณและการดำาเนินการอื่น ๆ ทำาให้สามารถพัฒนาองค์กรให้
        มีระบบการบริหารจัดการที่ดีและแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานที่เดิมเคยมีให้ลุล่วงไปได้
               ประการที่สาม   ระบบการบริหารงานบุคคล และการบริหารจัดการโดยมีบุคคลภายนอกเข้ามา

        ร่วมรับรู้และตรวจสอบ เช่น การเข้ามาเป็นกรรมการในคณะกรรมการชุดต่างๆ ของศาลยุติธรรมไม่ว่าจะ

        เป็นกรรมการ ก.ต. ก.บ.ศ. หรือ ก.ศ. ย่อมทำาให้ประชาชนมีความมั่นใจในความโปร่งใสของการบริหาร
        จัดการศาลยุติธรรม
               ประการที่สี่    ระบบการศาลยุติธรรมเป็นระบบที่อำานวยความยุติธรรมได้ทัดเทียมกับนานา

        อารยประเทศทำาให้ชาวต่างประเทศที่มีคดีความหรือคิดจะลงทุนหรือทำาการค้าในประเทศเกิดความมั่นใจ

        ว่าประเทศไทยมีสถาบันตุลาการที่เป็นอิสระและมีเสถียรภาพไม่ถูกแทรกแซงจากฝ่ายใด




  29
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34