Page 28 - Q15-COJ
P. 28

8. ศาลยุติธรรมกับการพัฒนาเพื่อรองรับการ


                                                     เปลี่ยนแปลงในระดับสากล




               เจ้าพนักงานตำารวจศาล
               การปฏิบัติหน้าที่ของศาลยุติธรรมจะเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพจำาเป็นต้องมี

        ระบบการรักษาความปลอดภัยภายในศาลที่เข้มแข้ง และมีระบบการติดตามจับกุมผู้หลบหนีที่มีประสิทธิภาพ
        ซึ่งสำานักงานศาลยุติธรรมมีความพยายามที่จะจัดตั้งหน่วยงานภายในที่มีภารกิจในการรักษาความสงบเรียบร้อย

        และความปลอดภัยในบริเวณศาล  รักษาความปลอดภัยข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมในการปฏิบัติ
        หน้าที่มาเป็นเวลานานหลายทศวรรษจนกระทั่งเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2562 พระราชบัญญัติเจ้าพนักงาน

        ตำารวจศาล พ.ศ. 2562 ได้มีผลใช้บังคับ และเจ้าพนักงานตำารวจศาลชุดแรก จำานวน 35 คน ซึ่งมีหน้าที่
        รักษาความสงบเรียบร้อยและรักษาความปลอดภัยบุคคลและทรัพย์สินในบริเวณศาล ป้องกันและปราบปราม

        การกระทำาผิดในบริเวณศาล รักษาความปลอดภัยและคุ้มครองข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมใน
        การปฏิบัติการตามหน้าที่ และติดตามจับกุมผู้หลบหนีการปล่อยชั่วคราวและหมายจับของศาลได้เริ่มปฏิบัติ

        หน้าที่ตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม 2562
               การปล่อยชั่วคราวโดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Monitoring : EM)

               กระบวนการยุติธรรมไทยในปัจจุบันต้องเผชิญปัญหาหลายด้าน  ทั้งในส่วนผู้กระทำาความผิดและ
        ผู้ต้องโทษ ได้แก่ ปัญหาความเหลื่อมล้ำาในสังคม ปัญหาการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ปัญหาผู้ถูกดำาเนิน

        คดีซึ่งเป็นผู้ต้องหา  หรือจำาเลยหลบหนีในชั้นปล่อยชั่วคราว  ปัญหาความยากจนไม่มีเงินประกันตัวทำาให้
        คนยากจนถูกควบคุมตัว และเสียโอกาสได้รับการปล่อยชั่วคราว ทั้งปริมาณผู้ต้องขังหรือผู้ต้องโทษในเรือน

        จำามีปริมาณมาก และเกิดสภาพปัญหาคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังหรือผู้ต้องโทษที่อยู่ในเรือนจำา นอกจากนี้
        การลงโทษจำาคุกในความผิดเล็กน้อยที่จะนำาไปสู่การพัฒนาการกระทำาความผิดของผู้ต้องโทษ และปัญหา

        การขาดสถานที่ลงโทษกักขังหรือการกักขังแทนค่าปรับ เพื่อขจัดปัญหาดังกล่าว สำานักงานศาลยุติธรรมจึง
        ได้จัดให้มีการนำาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรืออุปกรณ์อื่นใดที่สามารถใช้ตรวจสอบหรือจำากัดการเดินทาง

        ของผู้ถูกปล่อยชั่วคราวมาใช้ในงานปล่อยชั่วคราวได้ติดตามตัว (Electronic Monitoring : EM) หรือที่เรียก
        ว่า อุปกรณ์ EM เพื่อให้ศาลสามารถใช้ดุลพินิจให้เหมาะสมกับประเภทคดี และผู้ต้องหาหรือจำาเลยแต่ละ

        คนเพื่อลดปัญหาความไม่เท่าเทียมกันในการได้รับการปล่อยชั่วคราวและเป็นการเพิ่มโอกาสให้ผู้ต้องหา
        หรือจำาเลยที่มีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดี  มีโอกาสได้รับอนุญาตปล่อยชั่วคราวเพิ่มมากขึ้น  เพราะผู้ต้องหา

        หรือจำาเลยสามารถขอให้นำาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรืออุปกรณ์อื่นใดที่สามารถใช้ตรวจสอบหรือจำากัด
        การเดินทางของผู้ถูกปล่อยชั่วคราวหรืออุปกรณ์  EM  มาใช้ประกอบในการยื่นคำาร้องขอปล่อยชั่วคราว

        ซึ่งศาลอาจมีคำาสั่งอนุญาตปล่อยชั่วคราวโดยใช้อุปกรณ์  EM  โดยมีหลักประกันหรือไม่มีหลักประกันก็ได้


  27
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33