Page 24 - Q15-COJ
P. 24

7. การพัฒนาทางเทคโนโลยีสารสนเทศสู่ระบบ

                                      ศาลยุติธรรมดิจิทัล (Digital Court)




               ศาลยุติธรรมได้นำาเทคโนโลยีและการสื่อสารมาประยุกต์ใช้เพื่อสนับสนุนการทำางานทั้งในด้าน
        การพิจารณาพิพากษาคดี การให้บริการแก่ประชาชน และงานสนับสนุนสำานักงาน จากการเปลี่ยนแปลง

        อย่างรวดเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อการดำารงชีวิต
        ของประชาชน ตลอดจนการพัฒนาประเทศทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองรวมถึงศาลยุติธรรม

        ด้วยเช่นกัน และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนี้ ศาลยุติธรรมจึงได้ขับเคลื่อน
        การเปลี่ยนผ่านศาลยุติธรรมให้เป็นศาลยุติธรรมดิจิทัล หรือ Digital Court เพื่อให้การเข้าถึงกระบวนการ

        ยุติธรรมเป็นไปด้วยความรวดเร็ว ประหยัดงบประมาณ มีความเป็นรูปธรรมบนมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ
        สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นการพัฒนาประเทศและการปรับเปลี่ยนภาครัฐไปสู่การเป็น

        รัฐบาลดิจิทัล
               การเปลี่ยนผ่านระบบไปสู่การเป็นศาลดิจิทัล หรือ Digital Court ที่เป็นมาตรฐานสากลวางเป้าหมาย

        ไว้ว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2020 ภายใต้กลยุทธ์ที่เน้นความปลอดภัย โปร่งใส รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำา
        สามารถบูรณาการแลกเปลี่ยนข้อมูลทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนโดย

        มีระบบงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย



               ระบบการยื่นและส่งคำาคู่ความและเอกสารโดยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing)
               ศาลยุติธรรมได้จัดให้มีการให้บริการยื่นคำาฟ้องทางระบบรับ-ส่งอิเล็กทรอนิกส์ผ่านโปรแกรม

        ระบบการยื่นและส่งคำาคู่ความและเอกสารโดยสื่ออิเล็กทรอนิกส์  (e-Filing)  เพื่อให้หน่วยงานศาลยุติธรรม
        สามารถให้บริการคู่ความในการยื่นและส่งคำาคู่ความและเอกสารต่อศาลทางอิเล็กทรอนิกส์  คู่ความสามารถ

        ยื่นเอกสารที่เกี่ยวข้องในทางคดี และรับส่งข้อมูลคดีผ่านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศโดยไม่ต้องเดินทางมาศาล
        เป็นการบริหารคดีและบริการของศาลยุติธรรมมีความสะดวก รวดเร็ว และเสียค่าใช้จ่ายน้อย


               ระบบบริการข้อมูลคดีศาลยุติธรรม หรือ Case Information Online Service (CIOS)

               เป็นระบบที่ศาลยุติธรรมดำาเนินการเพื่ออำานวยความสะดวกให้แก่ประชาชน  โดยการใช้โปรแกรม
        การสืบค้นบริการข้อมูลคดีที่สามารถสืบค้นและติดตามสถานะความเคลื่อนไหวของคดีผ่านระบบเครือข่าย

        อินเตอร์เน็ตได้ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานการให้บริการประชาชนผ่านระบบ
        อิเล็กทรอนิกส์ของศาลยุติธรรม โดยคำานึงถึงความปลอดภัยในการเก็บรักษาข้อมูล การแลกเปลี่ยนข้อมูล

        การกำาหนดชั้นความลับและสิทธิในการเข้าถึงข้อมูล เพื่อให้คู่ความในคดีสามารถสืบค้นและติดตามผลคดี
        บนโปรแกรม CIOS ได้ทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ
  23
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29