Page 7 - Q15-COJ
P. 7

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ  ทรงเล็งเห็นถึงข้อขัดข้องจากการที่ศาล

        กระจัดกระจายอยู่ในหน่วยงานต่าง ๆ ทำาให้ตุลาการแยกย้ายไปอยู่ตามหน่วยงานหลายแห่งต่างสังกัดกัน

        อีกทั้งวิธีค้นคว้าพิสูจน์ความจริงของศาลก็ล้าสมัยไม่เหมาะสม เป็นเหตุให้การพิจารณาคดีล่าช้า ทำาให้
        ประชาชนผู้มีอรรถคดีเดือดร้อน จึงทรงมีพระราชปณิธานที่จะแก้ปัญหาเหล่านี้ดังจะเห็นได้จากพระราชดำารัส
        ที่ทรงแถลงพระบรมราชาธิบายแก้ไขการปกครองแผ่นดินว่า  “...การตำาแหน่งยุติธรรมในเมืองไทยนี้

        เปรียบเหมือนเรือกำาปั่นที่ถูกเพรียงแลปลวกกินผุโทรมทั้งลำา แต่ก่อนทำามานั้นเหมือนรั่วแห่งใด ก็เข้าไม้อุดยา

        แต่เฉพาะที่ตรงรั่วนั้น ที่อื่นก็โทรมลงไปอีกครั้นช้านานเข้าก็ยิ่งชำารุดหนักลงทั้งลำาเป็นเวลาสมควรที่ต้องตั้งกง 1
        ขึ้นกระดานใหม่ให้เป็นที่มั่นคงถาวรสืบไป”
               ครั้นปีรัตนโกสินทรศก 100 เนื่องในโอกาสที่พระนครครบ 100 ปี ซึ่งตรงกับวันที่ 21 เมษายน 2425

        พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้ทรงวางศิลาก่อพระฤกษ์อาคารสถิตยุติธรรม  (ปัจจุบันเป็น

        อาคารศาลฎีกาตั้งอยู่ที่สนามหลวง) ในครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดฯ จารึก
                                                                2
        พระราชปรารภในการจัดตั้งศาลยุติธรรมไว้ในแผ่น “หิรัญบัตร”  (เป็นแผ่นเงินยาวประมาณ 1 ฟุต
        กว้างประมาณ 6 นิ้ว) แสดงให้เห็นถึงพระบรมราโชบายในการปกครองแผ่นดินว่ามีพระราชประสงค์ให้

        ตั้งศาลขึ้น เป็นองค์กรที่ทำาหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดอรรถคดี ทั้งนี้ ทรงเล็งเห็นว่าบ้านเมืองจะอยู่ได้ด้วยความ

        สงบสุขร่มเย็นหรือไม่ก็ต้องอาศัยการศาลเป็นสำาคัญแผ่นหิรัญบัตรนี้ทรงโปรดฯ  ให้บรรจุไว้ในหีบศิลาและ
        ฝังไว้อยู่ใต้อาคารที่ทำาการศาลสถิตยุติธรรมเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2425
               ต่อมาในปีรัตนโกสินทรศก 110 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 มีนาคม 2434 ทรงมีพระบรมราชโองการ

        ประกาศตั้งกระทรวงยุติธรรมขึ้น และจัดระบบกฎหมายเสียใหม่เพื่อให้เข้ากับนานาอารยประเทศ โดยมี

        พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ทรงเป็นกำาลังสำาคัญในการจัดรูปแบบกฎหมายและระบบ
        ศาลยุติธรรมอันเป็นรากฐานสำาคัญให้ศาลยุติธรรมเจริญรุ่งเรืองเป็นสถาบันที่ประสิทธิ์ประสาทความยุติธรรม
        ให้แก่ประชาชนสืบมา

               เพื่อรำาลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ศาลยุติธรรมจึงถือ

        เอาวันที่ 21 เมษายนของทุกปีเป็นวันศาลยุติธรรม
               ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2478 ได้มีการประกาศใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรมแบ่งแยกงานศาลยุติธรรม
        ออกต่างหากจากกันเป็นสองฝ่าย คืองานธุรการและงานตุลาการโดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

        เป็นผู้รับผิดชอบงานธุรการ ส่วนงานตุลาการคือการพิจารณาพิพากษาเป็นอำานาจของตุลาการโดยเฉพาะ












        1  กง  หมายความถึง ไม้รูปโค้งที่ตั้งเป็นโครงเรือ
                                                                                                 6
        2  แผ่นหิรัญบัตร  ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ศาลไทย อาคารสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม สำานักงานศาลยุติธรรม
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12