Page 97 - นิตยสารดุลพาห เล่มที่ ๑-๒๕๖๑-กฎหมายฯ
P. 97
´ØžÒË
๒. กรณีที่ศาลมีคําสั่งพิทักษทรัพยแลว
เมื่อศาลมีคําสั่งพิทักษทรัพยแลว ไมมีกฎหมายใดบัญญัติใหหนี้ภาษีอากรระงับ
หรือไดรับยกเวนไมตองเสียภาษีอากร ผูเสียภาษียังคงมีหนาที่เสียภาษีอากรตามกฎหมาย
(คําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๔๒๗๕/๒๕๖๐) แตผูมีหนาที่ยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีอากร
แทนคือ “เจาพนักงานพิทักษทรัพย” โดยเสียจากกองทรัพยสินของลูกหนี้ภาษีอากร
เพราะตามพระราชบัญญัติลมละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๒๒ และมาตรา ๒๔ เมื่อศาล
มีคําสั่งพิทักษทรัพยแลว ลูกหนี้ซึ่งถูกพิทักษทรัพยจะกระทําการใดๆ เกี่ยวกับทรัพยสิน
หรือกิจการของตนไมได เจาพนักงานพิทักษทรัพยแตผูเดียวมีอํานาจจัดการแทน ไมวาจะเปน
การพิทักษทรัพยชั่วคราวหรือพิทักษทรัพยเด็ดขาด เพราะมาตรา ๒๒ และมาตรา ๒๔
ใชคําวา “พิทักษทรัพย” ซึ่งมาตรา ๖ แหงพระราชบัญญัติฉบับเดียวกันใหนิยามวา
“พิทักษทรัพยสินไมวาเด็ดขาดหรือชั่วคราว”
เมื่อเจาพนักงานพิทักษทรัพยมีหนาที่ยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีอากร
ตามกฎหมายแทนลูกหนี้ เจาพนักงานประเมินยอมมีอํานาจประเมินเรียกเก็บภาษีไปยัง
เจาพนักงานพิทักษทรัพยได (คําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๐๔๗/๒๕๓๔) แมมาตรา ๒๗
แหงพระราชบัญญัติลมละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ จะบัญญัติวาเมื่อศาลมีคําสั่งพิทักษทรัพย
เด็ดขาดแลว เจาหนี้จะขอรับชําระไดแตโดยปฏิบัติตามวิธีการที่กลาวไวในพระราชบัญญัติ
ดังกลาว แมจะเปนเจาหนี้ตามคําพิพากษาหรือเปนเจาหนี้ที่ไดฟองคดีแพงไวแลวแตคดียังอยูใน
ระหวางพิจารณาก็ตาม ก็ไมเปนเหตุทําใหเจาพนักงานพิทักษทรัพยไมมีหนาที่ยื่นแบบ
แสดงรายการและเสียภาษีอากรแทนลูกหนี้ภาษีอากร และไมเปนเหตุทําใหเจาพนักงานประเมิน
ไมมีอํานาจประเมินเรียกเก็บภาษีอากร เจาพนักงานประเมินยังคงมีอํานาจประเมินเรียกเก็บ
ภาษีอากรตามกฎหมาย เพราะการยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีรวมทั้งการประเมิน
เรียกเก็บภาษีอากรเปนการปฏิบัติและใชอํานาจตามกฎหมายภาษีอากร ไมใชเรื่องการขอรับ
ชําระหนี้ในคดีลมละลาย
คําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๐๔๗/๒๕๓๔ จําเลยเปนเจาพนักงานพิทักษทรัพย
ของลูกหนี้ ปรากฏวาลูกหนี้เปนหนี้ภาษีบํารุงทองที่ตอโจทก เจาพนักงานประเมินของโจทก
จึงไดแจงการประเมินไปยังจําเลยเพื่อใหชําระภาษีดังกลาว ดังนี้ การแจงการประเมินเปนการ
ปฏิบัติตามวิธีการที่กําหนดไวในพระราชบัญญัติภาษีบํารุงทองที่ พ.ศ. ๒๕๐๘ มาตรา ๔๘
ไมใชเรื่องการขอรับชําระหนี้ในคดีลมละลายตามพระราชบัญญัติลมละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓
มาตรา ๙๑
๘๖ เลมที่ ๑ ปที่ ๖๕