Page 101 - นิตยสารดุลพาห เล่มที่ ๑-๒๕๖๑-กฎหมายฯ
P. 101
´ØžÒË
และเสียภาษีภายใน ๒ เดือน นับแตวันครบ ๖ เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชีเปนเพียง
การกําหนดเวลาชําระหนี้ภาษีเงินไดนิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีเทานั้น ไมถือวา
มูลแหงหนี้เกิดขึ้นในวันครบ ๒ เดือน นับแตวันครบ ๖ เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี
ซึ่งเปนวันสุดทายของการยื่นแบบแสดงรายการ (ภ.ง.ด. 51) และเสียภาษีเงินไดนิติบุคคล
ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี เพราะดังกลาวแลวคําวา “มูลแหงหนี้” และคําวา “หนี้ถึงกําหนด
ชําระ” มีความหมายตางกัน
(๔) ภาษีเงินไดนิติบุคคลประจํารอบระยะเวลาบัญชี รอบภาษีคือ ๑๒ เดือน
หากถือรอบระยะเวลาบัญชีตามปปฏิทินคือระยะเวลาตั้งแตวันที่ ๑ มกราคม ถึงวันที่ ๓๑
ธันวาคม โดยมีวันที่ ๓๑ ธันวาคม เปนวันสุดทาย การที่ประมวลรัษฎากร มาตรา ๖๘
และมาตรา ๖๙ กําหนดใหผูเสียภาษียื่นแบบแสดงรายการ (ภ.ง.ด. 50) และเสียภาษี
ภายใน ๑๕๐ วัน นับแตวันสุดทายของรอบระยะเวลาบัญชีเปนเพียงการกําหนดเวลาชําระ
ภาษีเงินไดนิติบุคคลประจํารอบระยะเวลาบัญชีเทานั้น ไมถือวามูลแหงหนี้เกิดขึ้นในวัน
ครบ ๑๕๐ วัน นับแตวันสุดทายของรอบระยะเวลาบัญชี ซึ่งเปนวันสุดทายของการยื่นแบบ
แสดงรายการ (ภ.ง.ด. 50) และเสียภาษี เพราะดังกลาวแลวคําวา “มูลแหงหนี้” และคําวา
“หนี้ถึงกําหนดชําระ” มีความหมายตางกัน
(๕) ภาษีมูลคาเพิ่ม รอบภาษีคือ ๑ เดือน การที่ประมวลรัษฎากร มาตรา ๘๓
กําหนดใหผูเสียภาษียื่นแบบแสดงรายการ (ภ.พ. 30) และเสียภาษีภายในวันที่ ๑๕ ของเดือน
ถัดไปเปนเพียงการกําหนดเวลาชําระหนี้ภาษีมูลคาเพิ่มเทานั้น ไมถือวามูลแหงหนี้เกิดขึ้น
ในวันที่ ๑๕ ของเดือนถัดไปซึ่งเปนวันสุดทายของการยื่นแบบแสดงรายการ (ภ.พ. 30)
และเสียภาษีของเดือนภาษีที่ผานมา เพราะดังกลาวแลวคําวา “มูลแหงหนี้” และคําวา
“หนี้ถึงกําหนดชําระ” มีความหมายตางกัน
(๖) ภาษีธุรกิจเฉพาะ รอบภาษีคือ ๑ เดือน การที่ประมวลรัษฎากร มาตรา ๙๑/๑๐
กําหนดใหผูเสียภาษียื่นแบบแสดงรายการ (ภ.ธ. 40) และเสียภาษีภายในวันที่ ๑๕ ของเดือน
ถัดไปเปนเพียงการกําหนดเวลาชําระภาษีธุรกิจเฉพาะเทานั้น ไมถือวามูลแหงหนี้เกิดขึ้น
ในวันที่ ๑๕ ของเดือนถัดไป ซึ่งเปนวันสุดทายของการยื่นแบบแสดงรายการ (ภ.ธ. 40)
และเสียภาษีของเดือนภาษีที่ผานมา เพราะดังกลาวแลวคําวา “มูลแหงหนี้” และคําวา
“หนี้ถึงกําหนดชําระ” มีความหมายตางกัน
๙๐ เลมที่ ๑ ปที่ ๖๕