Page 54 - คู่มือปฏิบัติงานศาลอาญาคดีทุตจริตฯ
P. 54
คู่มือการปฏิบัติงานศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ
| 43
3. การสอบค าให้การ
ในวันยื่นฟ้องหรือในวันนัดพิจารณาครั้งแรก เมื่อศาลมีค าสั่งประทับฟ้องแล้ว
ไม่ว่ากรณีอัยการสูงสุดหรือประธานกรรมการ ป.ป.ช. หรือพนักงานอัยการหรือคณะกรรมการ
ป.ป.ช. หรือคดีที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์ ให้ศาลสอบค าให้การจ าเลยตาม พ.ร.บ. วิ. ทุจริตฯ
มาตรา 18 โดยก่อนสอบค าให้การต้องมีการด าเนินการ ป.วิ.อ. มาตรา 173 ก่อน
3.1 จ าเลยให้การรับสารภาพ
ในคดีที่จ าเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง แม้ข้อหาที่จ าเลยรับสารภาพนั้นกฎหมาย
ก าหนดอัตราโทษอย่างต่ าให้จ าคุกน้อยกว่าห้าปี หรือโทษสถานเบากว่านั้น ศาลอาจเรียก
พยานหลักฐานมาสืบพยานต่อไปเพื่อทราบถึงพฤติการณ์แห่งการกระท าความผิดจนกว่าจะพอใจ
ว่าจ าเลยกระท าความผิดจริงก็ได้ (พ.ร.บ. วิ. ทุจริตฯ มาตรา 19) ดังนั้น การสืบพยานจึงแยกเป็น
3.1.1 คดีที่กฎหมายบังคับให้ต้องสืบพยานประกอบ
คดีที่กฎหมายก าหนดอัตราโทษอย่างต่ าไว้ให้จ าคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป หรือโทษ
สถานที่หนักกว่านั้น ศาลต้องสืบพยานประกอบค ารับสารภาพตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑๗๖
ประกอบ พ.ร.บ. วิ. ทุจริตฯ มาตรา ๖
3.1.2 คดีที่ศาลอาจเรียกพยานหลักฐานมาสืบต่อไป
ส าหรับความผิดที่กฎหมายก าหนดอัตราโทษอย่างต่ าให้จ าคุกน้อยกว่าห้าปี หรือโทษ
สถานที่เบากว่านั้น ศาลอาจเรียกพยานหลักฐานมาสืบต่อไปได้ (พ.ร.บ. วิ. ทุจริตฯ มาตรา ๑๙)
(1) ไม่จ าเป็นต้องเรียกพยานหลักฐานมาสืบต่อไป
สั่งในรายงานกระบวนพิจารณาว่า
“ก่อนเริ่มพิจารณาศาลสอบถามจ าเลยเรื่องทนายความ....
ศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้จ าเลยฟังแล้ว จ าเลยให้การรับสารภาพ....