Page 90 - นิตยสารดุลพาห เล่มที่ ๒-๒๕๖๑-กฎหมาย
P. 90
ดุลพาห
อย่างไรก็ตาม เรื่องการกระทำาที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของ
ประชาชนหรือไม่นั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยุ่งยาก เนื่องจากคำาว่าความสงบเรียบร้อยหรือ
ศีลธรรมอันดีของประชาชนนั้น กฎหมายของประเทศต่างๆ ส่วนใหญ่ รวมทั้งประเทศไทย
และคำาพิพากษาของศาลมักไม่ให้คำานิยาม คำาว่าความสงบเรียบร้อยของประชาชน คงมีแต่
นักวิชาการที่ให้คำานิยามไว้เป็นการทั่วไป เช่น ตัวอย่าง ดังนี้
พระยาเทพวิทูร อธิบายคำาว่า ความสงบเรียบร้อยของประชาชนไว้เพียงกว้างๆ ว่า
๖
คือ สิ่งที่เกี่ยวด้วยผลประโยชน์ของมหาชนโดยทั่วไป ไม่ใช่เกี่ยวกับคู่กรณีโดยเฉพาะ
ศาสตราจารย์ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช อธิบายว่า ความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คือ การใดๆ ที่เกี่ยวด้วยความปลอดภัยของประชาชนทั้งภายในและภายนอกประเทศ
ตลอดถึงความเจริญผาสุกของประชาชนด้วยประการทั้งปวง และความปลอดภัย สันติสุข
๗
ของสังคมประเทศชาติ
ศาสตราจารย์ ดร. จิ๊ด เศรษฐบุตร อธิบายว่า ความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คือ ข้อห้าม ซึ่งสังคมบังคับแก่เอกชน เป็นการแสดงให้เห็นว่าสังคมย่อมอยู่เหนือเอกชน ทั้งนี้
๘
เพื่อสังคมจะได้ดำารงอยู่ได้ เพื่อคุ้มครองปกปักรักษาเอกชนซึ่งอยู่ในสังคมนั้นเอง
ศาสตราจารย์ ดร. อุกฤษ มงคลนาวิน อธิบายว่า ความสงบเรียบร้อยของประชาชน
หมายถึง ประโยชน์ทั่วไปของประเทศชาติและสังคม ทั้งนี้ เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของ
ประเทศชาติและสังคมนั้นเอง ๙
๖. พระยาเทพวิทูร, คำาอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๑ - ๒ มาตรา ๑ - ๒๔๐, พิมพ์
ครั้งที่ ๒ (พระนคร : โรงพิมพ์ไทยพิทยา, ๒๕๐๙), น. ๔๐๕.
๗. ศาสตราจารย์ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช, ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยนิติกรรมและหนี้, เล่ม ๑
ภาค ๑ - ๒ พิมพ์ครั้งที่ ๓ (กรุงเทพฯ : สำานักพิมพ์นิติบรรณาการ, ๒๕๒๗), น. ๑๕๖ – ๑๕๗.
๘. จี๊ด เศรษฐบุตร, คำาอธิบายกฎหมายนิติกรรมและหนี้ เล่ม ๑, (พระนคร : โรงพิมพ์แสงทองการพิมพ์,
๒๕๑๒), น. ๒๑.
๙. อุกฤษ มงคลนาวิน, “ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน,”, บทบัณฑิตย์, เล่มที่ ๓๒
ตอนที่ ๑, ๒๕๑๓, น. ๑๓-๑๔.
พฤษภาคม - สิงหาคม ๒๕๖๑ 79