Page 87 - นิตยสารดุลพาห เล่มที่ ๒-๒๕๖๑-กฎหมาย
P. 87
ดุลพาห
ถ้าเป็นนิติบุคคลผู้ทำาสัญญาก็ต้องเป็นผู้แทนนิติบุคคลกระทำาการแทนนิติบุคคลโดยปฏิบัติตาม
ข้อบังคับของนิติบุคคลในการทำาสัญญาแทนนิติบุคคลนั้น
ในทางปฏิบัติของต่างประเทศในอดีตนั้น คู่สัญญาฝ่ายที่ต้องการการสนับสนุน
หรือความช่วยเหลือทางการเงินมักเป็นฝ่ายผู้เรียกร้องที่มีปัญหาทางการเงินเนื่องจากมีฐานะ
ทางเศรษฐกิจที่ไม่ดีและไม่สามารถจ่ายเงินที่ใช้ในการอนุญาโตตุลาการได้ทั้งหมดหรือได้
ไม่ครบถ้วน แต่ต่อมาองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ เช่น บริษัทต่างๆ ก็ใช้ช่องทางนี้ที่จะจัดการความเสี่ยง
ในเรื่องการเงินของบริษัทโดยการที่บริษัทจะไม่ต้องจ่ายเงินที่จะใช้ในการอนุญาโตตุลาการ
โดยพยายามหาเงินจากบุคคลภายนอกที่ประกอบธุรกิจที่สนับสนุนทางการเงินในการ
อนุญาโตตุลาการ เพราะบุคคลภายนอกผู้ให้การสนับสนุนทางการเงินเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายให้
บริษัทคู่กรณีพิพาทซึ่งได้รับการสนับสนุน และหากบริษัทคู่พิพาทนั้นชนะคดี บุคคลภายนอก
ก็จะได้รับส่วนแบ่งจากเงินที่ชนะคดี แต่ถ้าบริษัทคู่กรณีพิพาทฝ่ายนั้นแพ้คดี บุคคลภายนอก
ก็จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเหล่านั้นเอง โดยบริษัทนั้นไม่ต้องรับผิดชอบใดในค่าใช้จ่ายใดๆ
๒) มีก�รตกลงกันทำ�สัญญ�
การเกิดของสัญญาสนับสนุนทางการเงินในการอนุญาโตตุลาการนี้เกิดขึ้นโดยการ
ตกลงกันของคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตามหลักการเกิดของนิติกรรม คือ มีคำาเสนอและคำาสนอง
ถูกต้องตรงกันด้วยความสมัครใจ กล่าวคือ การแสดงเจตนาของคู่สัญญาในการทำาสัญญา
ต้องไม่บกพร่อง เช่น ไม่มีการข่มขู่ ฉ้อฉล หรือสำาคัญผิดต่างๆ
นอกจากนั้น วัตถุประสงค์ของสัญญาต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย ความสงบเรียบร้อย
หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน แต่ส่วนนี้อาจมีข้อถกเถียงกันได้ เช่น แม้ว่าไม่ขัดต่อกฎหมาย
เนื่องจากไม่มีกฎหมายห้าม แต่อาจมีปัญหาว่าขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของ
ประชาชนหรือไม่ เช่น เพราะมีหลักกฎหมายระบบคอมมอนลอว์ที่นักกฎหมายไทยบางส่วน
ก็เห็นด้วยว่าการส่งเสริมให้บุคคลเป็นความกันนั้นขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม
อันดีของประชาชน แต่ก็อาจมีความเห็นที่แตกต่างว่าการกระทำาดังกล่าวเป็นการช่วยเหลือ
ให้บุคคลได้รับความยุติธรรมในการระงับข้อพิพาท
๓) แบบหรือหลักฐ�นของสัญญ�
ในการทำาสัญญาดังกล่าวนั้นขึ้นอยู่กับกฎหมายที่เกี่ยวข้องว่าบัญญัติในเรื่องนี้อย่างไร
แต่หากไม่มีกฎหมายในเรื่องนี้ เช่น ในกรณีของประเทศไทย การทำาสัญญาดังกล่าวก็ไม่ต้อง
76 เล่มที่ ๒ ปีที่ ๖๕