Page 84 - นิตยสารดุลพาห เล่มที่ ๒-๒๕๖๑-กฎหมาย
P. 84
ดุลพาห
ตอบแทนหากคู่กรณีที่ตนช่วยเหลือแพ้คดีในชั้นอนุญาโตตุลาการจึงอาจมีความพยายามที่จะ
เข้าไปมีอิทธิพลในการเลือกอนุญาโตตุลาการและอื่นๆ
เนื่องจากเรื่องดังกล่าวเป็นช่องทางอย่างหนึ่งที่ทำาให้คู่กรณีพิพาทซึ่งไม่มีเงิน
เพียงพอในการเข้าไปร่วมในการอนุญาโตตุลาการมีโอกาสได้รับความเป็นธรรมในการเข้าไป
ร่วมในการอนุญาโตตุลาการ แต่ก็อาจมีผลเสียอยู่ด้วย และเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่สำาหรับ
ประเทศไทย จึงควรศึกษาว่าเรื่องดังกล่าวนี้มีลักษณะและสภาพเป็นอย่างไรและหากจะนำามา
ใช้กับประเทศไทยจะเหมาะสมหรือไม่ มีปัญหาและอุปสรรคอย่างไร เพราะอาจมีปัญหาทาง
กฎหมายได้หลายประการ และต้องมีการปรับปรุงหรือแก้ไขกฎหมายหรือไม่และอย่างไร
๒. คว�มหม�ยและหลักเกณฑ์ของก�รสนับสนุนท�งก�รเงินของบุคคลภ�ยนอก
ในก�รอนุญ�โตตุล�ก�ร
การสนับสนุนทางการเงินของบุคคลภายนอกในการอนุญาโตตุลาการเป็นเรื่องที่มี
ลักษณะพิเศษและเป็นเรื่องใหม่สำาหรับประเทศไทย จึงจำาเป็นต้องพิจารณาถึงความหมาย
และหลักเกณฑ์ของเรื่องดังกล่าว ซึ่งมีรายละเอียดดังจะกล่าวต่อไป
๒.๑ คว�มหม�ยของก�รสนับสนุนท�งก�รเงินของบุคคลภ�ยนอกในก�ร
อนุญ�โตตุล�ก�ร
การสนับสนุนทางการเงินของบุคคลภายนอกในการอนุญาโตตุลาการ (Third-Party
Funding in Arbitration) หมายถึง การที่บุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่กรณีพิพาทและไม่มีส่วน
ได้เสียกับข้อพิพาทให้การสนับสนุนหรือให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่คู่กรณีพิพาทในการ
อนุญาโตตุลาการเพื่อให้คู่กรณีสามารถดำาเนินการทางการอนุญาโตตุลาการได้โดยไม่ต้อง
จ่ายเงิน เนื่องจากบุคคลภายนอกเป็นผู้จ่ายค่าใช้จ่ายทั้งหมดหรือบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับการ
อนุญาโตตุลาการให้แก่คู่กรณีที่ได้รับการสนับสนุน และบุคคลภายนอกนั้นจะได้รับส่วนแบ่ง
จากเงินที่คู่กรณีที่ตนสนับสนุนชนะคดี แต่ถ้าคู่กรณีพิพาทนั้นแพ้คดี บุคคลภายนอกดังกล่าว
๕
จะไม่ได้รับเงินตอบแทน แต่ต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ตกลงจะจ่ายด้วยตนเอง
๕. Sai Ramani Garimella, “Third Party Funding in International Arbitration : Issued and Challenges
in Asian Jurisdiction,” 3 (1) AALCO Journal of International Law 2014, p. 48.
พฤษภาคม - สิงหาคม ๒๕๖๑ 73