Page 81 - นิตยสารดุลพาห เล่มที่ ๒-๒๕๖๑-กฎหมาย
P. 81

ดุลพาห




            บรรดาสำานักงานทนายความที่มีองค์ประกอบต่างประเทศมักวิพากษ์วิจารณ์ว่ากระบวน
            พิจารณาของศาลในประเทศไทยคล้ายกับแดนสนธยา ทั้งนี้ก็เพราะพวกเขาไม่สามารถ

            ทำาความเข้าใจกับคำาพิพากษาหรือคำาสั่งที่เป็นภาษาไทยหากคำาพิพากษาหรือคำาสั่งที่เกี่ยวกับ

            คดีอนุญาโตตุลาการที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่
            โดยรวดเร็ว ก็จะทำาให้ข้อครหาในอดีตจางหายไปเอง สถาบันอนุญาโตตุลาการควรรับภาระ

            ในการช่วยทำาคำาแปลแล้วให้ศาลที่มีคำาพิพากษาหรือคำาสั่งพิจารณาความถูกต้องก่อนการ
            เผยแพร่ ทั้งนี้ เพื่อความรวดเร็วและความถูกต้องในการสื่อสาร แต่ผลของคำาพิพากษาหรือ

            คำาสั่งยังเป็นไปตามต้นฉบับที่ใช้ภาษาไทย ที่ว่ารวดเร็วตามที่กล่าวข้างต้นคือในเวลานับเป็น
            ชั่วโมง ไม่ใช่นับเป็นวัน


                     หากได้มีความพยายามในการปรับปรุงในเรื่องสำาคัญทั้งห้าที่กล่าวข้างต้นก็น่าเชื่อว่า
            ประเทศไทยจะได้รับการยอมรับในฐานะเป็นประเทศที่เหมาะสมแก่การจัดเป็นสถานที่ดำาเนิน

            กระบวนการอนุญาโตตุลาการ แต่ทั้งนี้ศาลต้องทำาตัวเป็นมิตรกับกระบวนการอนุญาโตตุลาการ

            ด้วยเพราะแท้ที่จริงเป็นเรื่องแบ่งงานกันทำาไม่ใช่การแย่ง การใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการ
            นั้นเป็นเรื่องจำาเป็น หากจำาเป็นก็ควรจะทำาให้ราบรื่น








































            70                                                               เล่มที่ ๒ ปีที่ ๖๕
   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86