Page 78 - นิตยสารดุลพาห เล่มที่ ๒-๒๕๖๑-กฎหมาย
P. 78

ดุลพาห




               ๓. กฎหมายกับข้อบังคับ


                        ประเทศไทยเคยเดินทางผิดโดยการเลือกใช้กฎหมายอังกฤษเป็นต้นแบบในการตรา
               พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. ๒๕๓๐ และใช้เวลายาวนานมาก คือสิบห้าปีก่อนที่จะ

               หันกลับมาใช้กฎหมายต้นแบบของสหประชาชาติ เพื่อตราพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ
               พ.ศ. ๒๕๔๕


                        สิ่งที่ประเทศไทยควรทำาก็คือ กำาหนดให้เรื่องการอนุญาโตตุลาการเป็นเรื่องสำาคัญ

               ที่จำาเป็นต้องได้รับการพัฒนาต่อเนื่อง เพราะเป็นปัจจัยสำาคัญในการให้บริการอนุญาโตตุลาการ
               ซึ่งจะนำารายได้เข้าประเทศ โดยอาจให้หน่วยงานเกี่ยวกับการปฏิรูปกฎหมายเป็นผู้ช่วย

               เฝ้าระวังและดำาเนินการโดยมีสำานักงานบริหารคดีอนุญาโตตุลาการต่างๆ ในประเทศไทยเป็น
               ผู้ช่วยดำาเนินการและให้คำาปรึกษาเรื่องที่ต้องดำาเนินการ มีทั้งตัวกฎหมายหลักและกฎหมาย

               ที่เกี่ยวข้อง เช่น การอนุญาตให้คนต่างชาติเข้ามาทำางานเกี่ยวกับการดำาเนินคดีอนุญาโตตุลาการ
               การสร้างอุปสรรคต่อการทำางานของคนต่างชาติในเรื่องนี้กลับเป็นเหตุชักนำาให้คดีถูกนำาไป

               ดำาเนินในต่างประเทศ ซึ่งพลอยทำาประเทศเสียรายได้อย่างอื่นๆ ไปด้วย เช่น ค่าที่พัก ค่าห้อง
               ประชุม ค่าบริการของทนายความ ตลอดจนค่าบริการอื่นๆ อันเกี่ยวกับการดำาเนินคดี


                        วิธีพัฒนากฎหมายและข้อบังคับของประเทศไทยนั้น เราอาจใช้วิธีลอกเลียนแบบ
               ทั้งตัวกฎหมายข้อบังคับ และวิธีพัฒนาต่างๆ จากการพัฒนากระบวนการอนุญาโตตุลาการ

               ของประเทศสิงคโปร์ ทั้งนี้ประเทศสิงคโปร์จะใช้หน่วยงานปฏิรูปกฎหมายเป็นตัวหลัก และ
               ให้กระทรวงยุติธรรม คณะนิติศาสตร์ต่างๆ ตลอดจนสภาทนายความมีบทบาทในการแสดง

               ความคิดเห็นเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อสรุปของการพัฒนา สำาหรับประเทศไทยนั้น ในขณะนี้เรามีทั้ง

               สำานักงานศาลยุติธรรมและกระทรวงยุติธรรมที่ทำางานเรื่องเหล่านี้ ทางที่ดีก็คือให้หน่วยงาน
               ทั้งสองร่วมมือกัน และหากเป็นไปได้ควรยุบหน่วยงานทั้งสองเข้าด้วยกันแต่ต้องเป็นอิสระจาก

               รัฐบาลพอสมควร

                        ในด้านทิศทางการพัฒนากฎหมายนั้น ควรใช้วิธีเปรียบเทียบกฎหมายเพื่อดูว่า

               กฎหมายกับข้อบังคับของประเทศใด สถาบันใดดีที่สุดแล้วพิจารณาว่าประเทศไทยจะรับ
               เรื่องใดไว้ได้บ้างในขณะนั้น ต้องเข้าใจด้วยว่ามีการแข่งขันกันในประเทศที่ให้บริการการ

               อนุญาโตตุลาการกฎหมายกับข้อบังคับจึงต้องพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยเนื้อแท้ของเรื่องแล้ว
               ข้อบังคับต้องพัฒนาเร็ว ส่วนกฎหมายนั้นใช้วางกรอบกว้างๆ ไม่จำากัดรัดแคบ ปล่อยให้การ




               พฤษภาคม - สิงหาคม ๒๕๖๑                                                      67
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83