Page 76 - นิตยสารดุลพาห เล่มที่ ๒-๒๕๖๑-กฎหมาย
P. 76

ดุลพาห




                        ในระยะเริ่มต้นรัฐต้องให้การสนับสนุนแก่กระบวนการอนุญาโตตุลาการโดยเฉพาะ
               เงินที่ใช้อุดหนุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของสำานักงานบริหารคดีประเทศสิงคโปร์ให้ประสบ

               ความสำาเร็จในการใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการหาเงินเข้าประเทศ เพราะรัฐบาลมีนโยบาย

               ที่แน่วแน่มาตั้งแต่ ค.ศ. 1985 ด้วยการกำาหนดในแผนเศรษฐกิจฉบับพิเศษเพื่อแก้ไขความ
               ตกตำ่าทางเศรษฐกิจของประเทศอันเนื่องมาจากภาวะราคานำ้ามันในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้นมาก

               ในช่วงเวลาก่อนหน้าสิงคโปร์ยืนยันจะปรับปรุงการให้บริการทางกฎหมาย ท่าทีของรัฐบาล
               สิงคโปร์นี้ทำาให้มีการปรับปรุงกฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับการอนุญาโตตุลาการและ

               เสริมสร้างคุณภาพของสำานักงานบริหารคดีอย่างจริงจังและต่อเนื่องจนสิงคโปร์สามารถ
               แข่งขันกับฮ่องกงหรือแม้กระทั่งอังกฤษในเรื่องการให้บริการอนุญาโตตุลาการ ๒


                        หากรัฐบาลไทยตระหนักถึงความสำาคัญของกระบวนการอนุญาโตตุลาการก็น่าจะ
               ให้การสนับสนุนทำานองที่รัฐบาลสิงคโปร์เคยทำาและยังทำาอยู่ ในอดีตรัฐบาลไทยมักจะมีท่าที

               ที่ไม่เป็นมิตรกับกระบวนการทางอนุญาโตตุลาการ เพราะรัฐบาลไทยแพ้คดีในกระบวนการ

               อนุญาโตตุลาการบ่อย แต่สาเหตุที่แท้จริงของการพ่ายแพ้คดีไม่ได้อยู่ที่ตัวกระบวนการ
               อนุญาโตตุลาการ แต่มีสาเหตุอื่นสามประการด้วยกัน ประการแรก การร่างสัญญาสัมปทาน

               ต่างๆ ฝั่งภาคเอกชนใช้นักกฎหมายเก่งๆ ทั่วโลกในการยกร่างสัญญาและเจรจาต่อรอง
               ในขณะที่รัฐบาลไทยไม่มีหน่วยงานเฉพาะที่ทำาเรื่องนี้ แม้ว่าสำานักงานอัยการสูงสุดจะคุ้นเคย

               กับงานเรื่องนี้แต่โดยผลของระบบราชการที่ต้องมีการสับเปลี่ยนเลื่อนตำาแหน่งบางครั้งคน
               ที่เข้ามาดูแลอาจจะยังไม่เชี่ยวชาญเพียงพอ และในเรื่องสำาคัญๆ ควรใช้ทนายความไม่ว่า

               จะเป็นคนไทยหรือคนต่างชาติเข้าช่วย  แต่เรื่องนี้รัฐบาลควรต้องจัดระบบงานกันใหม่
               ประการที่สอง คือ การแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการคนที่สามซึ่งมักจะเป็นผู้ชี้ขาด เพราะการตัดสิน

               คดีในกระบวนการอนุญาโตตุลาการใช้เสียงข้างมากเป็นหลัก อนุญาโตตุลาการแต่ละฝ่ายคง
               พยายามเข้าข้างฝ่ายที่ตั้งตนแม้ว่าในอุดมการณ์อนุญาโตตุลาการทุกคนจะต้องวางตัวเป็นกลาง

               ถ้าความสำาคัญอยู่ที่การคัดเลือกอนุญาโตตุลาการคนที่สาม รัฐบาลไทยควรพิถีพิถันให้มากใน

               การเลือกอนุญาโตตุลาการคนที่สามให้สมตามภาษิตที่ว่า “Arbitration is as good as arbitrator”
               ในขณะเดียวกันอนุญาโตตุลาการฝ่ายรัฐบาลก็ต้องเป็นคนที่มีความสามารถในการชี้แจง

               ปัญหา และโน้มน้าวจิตใจของอนุญาโตตุลาการคนกลาง การตั้งอัยการเป็นอนุญาโตตุลาการ


               ๒. N.Rawding และ E.Snodgrass “Global View” ใน Arbitration World, Thomson Reuters, 2015,
                 หน้า ๑ - ๒๖.



               พฤษภาคม - สิงหาคม ๒๕๖๑                                                      65
   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81