Page 71 - นิตยสารดุลพาห เล่มที่ ๒-๒๕๖๑-กฎหมาย
P. 71

ดุลพาห




                     ผลกระทบในเชิงลบจากการไม่เปิดเผยกระบวนพิจารณาและคำาชี้ขาดต่อสาธารณชน
            ที่เห็นได้ชัดก็คือ กระบวนพิจารณาซึ่งครอบคลุมถึงการรับฟังพยานหลักฐาน และคำาชี้ขาด

            ในข้อพิพาทแต่ละเรื่องที่เกิดขึ้นและดำาเนินไปนั้น ไม่อาจสร้างความคาดหวังใดๆ จากสังคม

            ได้เลยว่า หากมีข้อพิพาททางการค้าในทำานองนี้เกิดขึ้นอีกในอนาคตผลควรจะเป็นเหมือน
            อย่างข้อพิพาทที่ได้มีคำาชี้ขาดไปแล้วหรือไม่ ผลกระทบลักษณะนี้จึงอาจก่อให้เกิดผล

            ในเชิงลบเป็นลูกโซ่ว่าเมื่อสังคมไม่มีโอกาสรับรู้หรือคาดหวังได้ว่าผลของข้อพิพาทในอนาคต
            จะเป็นเยี่ยงไร ข้อพิพาทในทำานองเดียวกันที่เกิดขึ้นตามมาจึงไม่จำาเป็นต้องกริ่งเกรงข้อครหา

            ว่าจะมีหลากมาตรฐาน

                     ข้อวิพากษ์ประการที่สอง อันเป็นผลสืบเนื่องจากกระบวนพิจารณาที่อาจถูกมองว่า

            ขาดความโปร่งใสก็คือ ระบบการพิจารณาและคำาชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ เป็นระบบที่ไม่
            อาจสร้างบรรทัดฐานในทางคดีได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือ ในข้อกฎหมายที่อนุญาโตตุลาการ

            หรือคณะอนุญาโตตุลาการได้พิจารณาและทำาคำาชี้ขาดไป ข้อที่ระบบอนุญาโตตุลาการทางการค้า

            ในปัจจุบันไม่เอื้อต่อการสร้างบรรทัดฐานนั้น ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์และสร้างข้อกังวล
            ตลอดจนถึงขนาดเกิดความคิดต่อต้านที่เห็นได้ชัดเจนขึ้นในประเทศที่ใช้ระบบคอมมอนลอว์

            เพราะในระบบกฎหมายนี้ถือว่าคำาพิพากษาของศาลย่อมใช้เป็นบรรทัดฐานสำาหรับคดี
            ที่มีข้อเท็จจริงในทำานองเดียวกันที่ตามมาได้ โดยเหตุนี้การอนุญาโตตุลาการที่ไม่มีส่วน

            ในการสร้างบรรทัดฐานทางกฎหมาย แม้จะมีการเปิดเผยคำาชี้ขาดในภายหลังต่อมา ไม่ว่า
            ด้วยเหตุใด การเปิดเผยคำาชี้ขาดนั้นก็มีผลเพียงให้สังคมรับรู้ถึงผลของข้อพิพาทนั้นๆ เท่านั้น

            ไม่ก่อให้เกิดความสนใจในการศึกษาหรือวิเคราะห์ถึงข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายในคำาชี้ขาด
            ของข้อพิพาทนั้นๆ อย่างแท้จริง เพราะสังคมถือเสียว่าคำาชี้ขาดข้อพิพาทของอนุญาโตตุลาการ

            ไม่อาจนำามาใช้เป็นบรรทัดฐานได้จากความไม่โปร่งใสของระบบมาตั้งแต่ต้นแล้ว


                     ความสำาคัญของการสร้างบรรทัดฐานนั้น ไม่เพียงแต่จะมีความสำาคัญสำาหรับ
            ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์เท่านั้น แม้ในประเทศที่ใช้ระบบประมวลกฎหมาย

            ดังเช่น ประเทศไทยก็ไม่อาจปฏิเสธความสำาคัญของการสร้างบรรทัดฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
            จากคำาพิพากษาของศาลฎีกาได้ ข้อนี้จะเห็นได้จากการจัดพิมพ์หนังสือคำาพิพากษาฎีกาของ

            เนติบัณฑิตยสภาที่ได้ดำาเนินการมายาวนาน และจากตำารากฎหมายของผู้สอนและบรรยาย
            กฎหมาย เกือบทุกเล่มที่พบเห็น ล้วนแต่มีการอ้างอิงคำาพิพากษาของศาลฎีกา มากบ้างน้อยบ้าง

            ทั้งสิ้น ผู้เขียนจึงเห็นว่าความสำาคัญของบรรทัดฐานเป็นความจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้



            60                                                               เล่มที่ ๒ ปีที่ ๖๕
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76