Page 70 - นิตยสารดุลพาห เล่มที่ ๒-๒๕๖๑-กฎหมาย
P. 70

ดุลพาห




               ประเทศสร้างกระแสกดดันให้ต้องบริหารจัดการไปโดยโปร่งใสตรวจสอบได้ กับทั้งต้องถือ
                                                  ๖
               ปฏิบัติตามแนวมาตรฐานที่กำาหนดไว้  ซึ่งย่อมหมายถึงการต้องเปิดเผยข้อมูลภายใน
               บางประการขององค์กร


                        ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ระบบอนุญาโตตุลาการทางการค้าจะพลอยได้รับผล
               กระทบจากกระแสกดดันในทำานองเดียวกัน ยิ่งเมื่อพิจารณาเห็นว่าการอนุญาโตตุลาการ

               เป็นกระบวนพิจารณาทางเลือกในการระงับข้อพิพาทแทนการดำาเนินการฟ้องร้องทางศาล
               ก็ยิ่งทำาให้เห็นความจำาเป็นสมควรที่จะต้องให้กระบวนพิจารณาของการอนุญาโตตุลาการ

               มีความโปร่งใสในทำานองเดียวกับกระบวนพิจารณาคดีของศาล เหตุผลของการเรียกร้องไม่มี
               ความซับซ้อนและเป็นที่เข้าใจได้ง่ายสำาหรับข้อเสนอของฝ่ายที่ให้พิจารณาโดยเปิดเผยหรือ

               อย่างน้อยก็ต้องเปิดเผยผลการพิจารณาเพื่อให้สังคมตรวจสอบได้


                        กระบวนพิจารณาใดที่สังคมไม่มีโอกาสตรวจสอบย่อมก่อให้เกิดความสงสัย
               ในความสุจริตของทุกฝ่าย โดยเฉพาะคณะอนุญาโตตุลาการเองที่ทำาการพิจารณาและชี้ขาด
               ข้อพิพาท แม้ว่าภายหลังจากที่มีคำาชี้ขาดแล้วคำาชี้ขาดยังอาจถูกศาลเพิกถอน ซึ่งในกรณี

               เช่นนั้นคำาชี้ขาดตลอดจนกระบวนพิจารณาก่อนหน้านั้น ก็จะถูกเปิดเผยจากการดำาเนิน

               กระบวนพิจารณาของศาลเพื่อไต่สวนการร้องขอให้เพิกถอนก็ตามก็ถือกันว่าเป็นข้อยกเว้น
               เพราะโดยหลักก็ยังต้องถือว่าคู่กรณีจะต้องยินยอมถูกผูกพันตามคำาชี้ขาดตามที่ตนเองได้

                                                         ๗
               ตกลงกันไว้ในข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการนั้นเอง  ข้อสัญญาในลักษณะนี้จึงแสดงให้เห็นว่า
               โดยหลักการแล้วการอนุญาโตตุลาการได้สร้างระบบของตนให้ต่างไปจากกระบวนพิจารณา

               ทางศาลโดยถือหลักว่าไม่ควรต้องมีการตรวจสอบ และหากจำาเป็นที่จะต้องตรวจสอบก็ให้
                                                                           ๘
               ดำาเนินการได้อย่างจำากัด เฉพาะในกรณีที่กฎหมายได้บัญญัติไว้เท่านั้น





               ๖.  เช่น ปฏิบัติตามกฎระเบียบของ กลต. ในการเปิดเผยข้อมูลแก่ผู้ลงทุน หรือต้องจัดทำาบัญชีตามมาตรฐาน
                 การบัญชีและการเงินระหว่างประเทศ ที่สภาวิชาชีพบัญชีประกาศ เป็นต้น.
               ๗. กล่าวได้ว่าในข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการเกือบทุกสัญญามักจะปรากฏข้อความว่าคำาชี้ขาดย่อมเป็นที่สุด

                 และมีผลผูกพันคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย (“the award shall be final and binding upon the parties”).
               ๘. ดูพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ  พ.ศ.  ๒๕๔๕  มาตรา  ๔๐,  ๔๓  และ  ๔๔  ที่บัญญัติให้อำานาจศาล
                 เพิกถอนคำาชี้ขาด หรือปฏิเสธไม่บังคับตามคำาชี้ขาดได้ ซึ่งศาลจะมีคำาสั่งเช่นนั้นได้ก็จำาต้องดำาเนินการ
                 ไต่สวนเพื่อพิจารณาให้ได้ความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตราใดมาตราหนึ่งดังกล่าว.



               พฤษภาคม - สิงหาคม ๒๕๖๑                                                      59
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75