Page 65 - นิตยสารดุลพาห เล่มที่ ๒-๒๕๖๑-กฎหมาย
P. 65
ดุลพาห
2…..
3…..”
แม้บทบัญญัติใน Article I วรรคหนึ่ง จะแสดงให้เห็นถึงหลักดินแดนที่จะนำามาใช้เป็น
เกณฑ์ในการกำาหนดว่าคำาชี้ขาดอนุญาโตตุลาการใดเป็นคำาชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ
แต่ความตอนท้ายของบทบัญญัติดังกล่าวก็เปิดโอกาสให้ประเทศภาคีตรากฎหมายกำาหนดว่า
แม้คำาชี้ขาดได้กระทำาขึ้นในประเทศของตนและมีการนำาคำาชี้ขาดอนุญาโตตุลาการดังกล่าวมา
ขอให้ศาลบังคับก็ตาม กฎหมายก็อาจจะถือว่าคำาชี้ขาดดังกล่าวเป็นคำาชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ
ต่างประเทศและนำาอนุสัญญาฉบับนี้มาใช้บังคับได้ อนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับนับถือและ
บังคับตามคำาชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ฉบับนครนิวยอร์ก ค.ศ. 1958 จึงเปิดช่อง
ให้ประเทศภาคีบัญญัติกฎหมายได้เองว่ากรณีใดจะเป็นอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ
ด้วยวัตถุประสงค์ที่ต้องการขยายขอบเขตการบังคับใช้อนุสัญญาออกไปให้ยิ่งกว่าการนำา
หลักดินแดนมาใช้ ทั้งนี้ หวังผลในท้ายที่สุดว่าการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ
จะมีประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้น ในการบัญญัติประเทศภาคีควรที่จะส่งเสริมให้มีการ
อนุญาโตตุลาการในประเทศของตนอย่างกว้างขวาง
คว�มคิดที่จะส่งเสริมก�รระงับข้อพิพ�ทท�งพ�ณิชย์
ปัญหาประการหนึ่งของการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการในประเทศไทย
คือการไม่อำานวยความสะดวกแก่ชาวต่างชาติที่เข้ามาทำาหน้าที่เป็นอนุญาโตตุลาการ
หรือเป็นผู้รับมอบอำานาจในประเทศไทย ดังนั้น จึงได้เสนอให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติ
อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. ๒๕๔๕ ร่างพระราชบัญญัตินี้ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของ
คณะกรรมการกฤษฎีกา โดยในชั้นนี้คณะกรรมการมีความเห็นว่าควรที่จะมีการอำานวย
ความสะดวกให้แก่ชาวต่างชาติที่จะเดินทางเข้ามาทำาหน้าที่เป็นอนุญาโตตุลาการ โดยมิได้
คำานึงว่าคดีดังกล่าวจะมีลักษณะเป็นคดีพาณิชย์ระหว่างประเทศหรือไม่ โดยจะให้สำานักงาน
อนุญาโตตุลาการของศาลยุติธรรมเป็นผู้ออกหนังสือรับรอง เพื่อให้ชาวต่างประเทศสามารถนำา
ไปใช้ในการยื่นคำาขอวีซ่าสำาหรับเดินทางเข้ามาในประเทศไทยและผ่านการตรวจลงตราและให้
สามารถได้รับการอนุญาต (work permit) ให้ทำางานในฐานะที่เป็นอนุญาโตตุลาการได้ และ
ยอมรับสิทธิของคู่พิพาทที่จะแต่งตั้งผู้รับมอบอำานาจในการดำาเนินการทางอนุญาโตตุลาการ
ในทางอนุญาโตตุลาการได้ ในกรณีที่ผู้รับมอบอำานาจที่เป็นคนต่างด้าวผู้รับมอบอำานาจ
54 เล่มที่ ๒ ปีที่ ๖๕