Page 60 - นิตยสารดุลพาห เล่มที่ ๒-๒๕๖๑-กฎหมาย
P. 60

ดุลพาห




               มาตรา ๔๑ ทั้งสองวรรคจึงไม่ขัดและเป็นไปตามพันธกรณีที่ประเทศไทยมีอยู่ภายใต้อนุสัญญา
               ว่าด้วยการยอมรับนับถือและบังคับตามคำาชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ฉบับ

               นครนิวยอร์ก ค.ศ. 1958 บทบัญญัติที่มีปัญหาการตีความคือ Article V (e) ของอนุสัญญา

               ว่าด้วยการยอมรับนับถือและบังคับตามคำาชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ฉบับนคร
               นิวยอร์ก ค.ศ. 1958 ที่บัญญัติไว้ว่า “The award…, has been set aside or suspended

               by a competent authority of the country in which, or under the law of which,
               that award was made.” บทบัญญัติทำานองเดียวกันนี้ปรากฏอยู่ในมาตรา ๔๓ พระราช

               บัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. ๒๕๔๕ ว่า :

                        “มาตรา ๔๓ ศาลมีอำานาจทำาคำาสั่งปฏิเสธไม่รับบังคับตามคำาชี้ขาดของคณะ

               อนุญาโตตุลาการ ไม่ว่าคำาชี้ขาดนั้นจะได้ทำาขึ้นในประเทศใด ถ้าผู้ซึ่งจะถูกบังคับตามคำาชี้ขาด
               พิสูจน์ได้ว่า

                        (๑)...

                        (๒)...
                        (๓)...

                        (๔)...
                        (๕)...

                        (๖) คำาชี้ขาดยังไม่มีผลผูกพัน หรือได้ถูกเพิกถอน หรือระงับใช้เสียโดยศาลที่มีเขต
               อำานาจหรือภายใต้กฎหมายของประเทศที่ทำาคำาชี้ขาด...”


                        เมื่อพิจารณามาตรา ๔๓ พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. ๒๕๔๕ ประกอบ
               กับมาตรา ๔๑ และบทบัญญัติใน Article V(e) ของอนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับนับถือ

               และบังคับตามคำาชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ฉบับนครนิวยอร์ก ค.ศ. 1958 แล้ว

               จะเห็นว่ามาตรา ๔๓ พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้บัญญัติขึ้นเพื่อรองรับ
               อนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับนับถือและบังคับตามคำาชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ

               ฉบับนครนิวยอร์ก ค.ศ. 1958 Article V(e) แต่อนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับนับถือและบังคับ
               ตามคำาชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ฉบับนครนิวยอร์ก ค.ศ. 1958 ก็มิได้บัญญัติ

               ว่า ศาลของประเทศภาคีมีเขตอำานาจที่จะเพิกถอนคำาชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่ทำาขึ้นใน
               ต่างประเทศอื่นหรือไม่ คงบัญญัติแต่เพียงว่าหากคำาชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการได้ถูกเพิกถอนใน

               ประเทศที่คำาชี้ขาดได้ทำาขึ้นแล้ว ศาลในประเทศภาคีอื่นๆ ทั้งหมดมีอำานาจที่จะปฏิเสธไม่บังคับ



               พฤษภาคม - สิงหาคม ๒๕๖๑                                                      49
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65