Page 59 - นิตยสารดุลพาห เล่มที่ ๒-๒๕๖๑-กฎหมาย
P. 59
ดุลพาห
ตรากฎหมายขึ้นรองรับความตกลงระหว่างประเทศฉบับนี้เป็นพระราชบัญญัติว่าด้วยการ
๒
มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด พ.ศ. ๒๔๗๓ แต่แม้จะมีความตกลงระหว่างประเทศ
ฉบับนี้ก็ยังมีปัญหาว่า บางประเทศไม่ยอมรับและบังคับตามคำาชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่
ชี้ขาดตามความตกลงดังกล่าว ดังนั้น จึงมีการจัดทำาอนุสัญญาขึ้นอีกฉบับหนึ่งที่มีชื่อเรียกว่า
Convention for the Execution of Foreign Arbitral Awards, League of Nations,
Geneva, 1931 มีการลงนามเมื่อวันที่ 26 กันยายน ค.ศ. 1927 ประเทศไทยได้ให้สัตยาบัน
เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1931 เพื่อแก้ปัญหาข้อจำากัดของอนุสัญญาดังกล่าว สหประชาชาติ
ได้จัดทำาอนุสัญญาฉบับใหม่ขึ้น คือ Convention on the Recognition and Enforcement
of Foreign Arbitral Awards, United Nations, New York, 1958 ประเทศไทยได้เข้า
เป็นภาคีอนุสัญญาฉบับนี้ตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ. 1959 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม
๓
ค.ศ. 1960 และได้ตราพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. ๒๕๓๐ ขึ้นใช้บังคับ ซึ่ง
๔
ต่อมาได้ถูกยกเลิกและแทนที่โดยพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. ๒๕๔๕ กฎหมาย
อนุญาโตตุลาการของไทยปัจจุบันจึงมีลักษณะที่สอดคล้องกับความตกลงระหว่างประเทศที่
ประเทศไทยได้ทำาไว้ ทั้งนี้ พันธกรณีที่ประเทศไทยได้ให้ไว้ตามอนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับ
นับถือและบังคับตามคำาชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ฉบับนครนิวยอร์ก ค.ศ. 1958
นั้น ประเทศไทยมิได้ตั้งข้อสงวนว่าคำาชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่ประเทศไทยจะยอมรับ
นับถือและบังคับให้นั้นจะต้องเป็นคำาชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่กระทำาขึ้นในประเทศภาคี
ด้วยกัน และมิได้ตั้งข้อสงวนว่าจะต้องเป็นคำาชี้ขาดเกี่ยวกับข้อพิพาททางพาณิชย์เท่านั้น
พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๔๑ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ภายใต้บังคับ
มาตรา ๔๒ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๔๔ คำาชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการไม่ว่าจะได้ทำาขึ้น
ในประเทศใดให้ผูกพันคู่พิพาท และเมื่อได้มีการร้องขอต่อศาลที่มีเขตอำานาจย่อมบังคับได้ตาม
คำาชี้ขาดนั้น” และวรรคสองบัญญัติว่า “ในกรณีคำาชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการกระทำาขึ้น
ในต่างประเทศ ศาลที่มีเขตอำานาจจะมีคำาพิพากษาบังคับตามคำาชี้ขาดให้ต่อเมื่อเป็นคำาชี้ขาด
ที่อยู่ในบังคับแห่งสนธิสัญญา อนุสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศซึ่งประเทศไทย
เป็นภาคี และให้มีผลบังคับได้เพียงเท่าที่ประเทศไทยยอมตนเข้าผูกพันเท่านั้น” บทบัญญัติใน
๒. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๔๗ พ.ศ. ๒๔๗๓ วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๓ หน้า ๓๗๐.
๓. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๑๕๖ วันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๐.
๔. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๓๙ ก วันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕.
48 เล่มที่ ๒ ปีที่ ๖๕