Page 63 - นิตยสารดุลพาห เล่มที่ ๒-๒๕๖๑-กฎหมาย
P. 63

ดุลพาห




                     ๓. ทฤษฎีผสม (The Mixed or Hybrid Theory)


                     ทฤษฎีนี้พยายามประนีประนอมความขัดแย้งของสองทฤษฎีแรก โดยเห็นว่า
            ทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่งโดยลำาพังไม่สามารถอธิบายลักษณะและธรรมชาติของการระงับ

            ข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการได้ การตกลงที่จะเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ รูปแบบ
            ของการอนุญาโตตุลาการ การแต่งตั้งคณะอนุญาโตตุลาการ และกระบวนพิจารณาของ

            อนุญาโตตุลาการล้วนอยู่ภายใต้ข้อตกลงของคู่สัญญา แต่ผลของข้อตกลงและการบังคับตาม
            คำาชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจำาเป็นต้องมีกฎหมายกำากับดูแล ผลของทฤษฎีนี้คือยอมรับ

            ความสำาคัญของสัญญาอนุญาโตตุลาการ และสัญญาก็มีขอบเขตจำากัดโดยกฎหมายของรัฐ


                     หากพิเคราะห์ลึกลงไปในเชิงประวัติศาสตร์แล้ว จะพบว่าทฤษฎีสัญญาเกิดขึ้นเพราะ
            รัฐใช้อำานาจเกินขอบเขตทำาให้เอกชนเสียเสรีภาพ ทฤษฎีว่าด้วยเขตอำานาจที่ว่าการระงับ

            ข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการมีได้เพราะรัฐมอบอำานาจให้ย่อมไม่สอดคล้องกับสภาพความ
            เป็นจริงของสังคม อำานาจมิได้มาจากแนวคิดทางเขตอำานาจแต่เพียงประการเดียว แต่มีส่วน

            ที่มาจากความสัมพันธ์ของกลุ่มชนในสังคมด้วย ในสังคมเวทีระหว่างประเทศก็ย่อมมีความ

            สัมพันธ์ในด้านนี้เช่นกัน ส่วนทฤษฎีสัญญานั้นถือว่าการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ
            เป็นเรื่องหนึ่งของสัญญา เมื่อรัฐยอมรับหลักเสรีภาพในการทำาสัญญาแล้วรัฐก็ไม่ควรแทรกแซง

            ก็เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ไม่มีเสรีภาพใดไม่มีขอบเขต แต่ละสังคมย่อมมีส่วนได้เสีย
            ในกระบวนการระงับข้อพิพาทต่างๆ รัฐจึงควรเป็นผู้เข้ามาดูแลเรื่องนี้ ส่วนทฤษฎีผสมก็ขาด

            ความชัดเจน เพราะไม่ได้เสนอว่าศาลควรกำากับดูแลการดำาเนินการทางอนุญาโตตุลาการ
            เรื่องใดและอย่างไร ทฤษฎีนี้เพียงแต่เสนอว่าการให้อนุญาโตตุลาการเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด

            ข้อพิพาทเป็นเรื่องที่คู่สัญญาจะตกลงกัน เมื่อตกลงกันแล้วศาลจะเป็นผู้กำากับดูแลผลของ
            สัญญาอนุญาโตตุลาการและการบังคับตามคำาชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเท่านั้น


                                           ๕
                     คดี  Grands  Travaux   แสดงให้เห็นถึงความไม่ชอบธรรมของคำาสั่งศาล
            สวิตเซอร์แลนด์ ในปี ค.ศ. 1965 East Pakistan Industrial Development Corporation

            (EPIDC) ซึ่งเป็นของรัฐบาลปากีสถานได้เข้าทำาสัญญากับ SGTM บริษัทสัญชาติฝรั่งเศส เพื่อ
            ก่อสร้างท่อส่งแก๊สในปากีสถานตะวันออก ซึ่งต่อมาในปี ค.ศ. 1971 คือบังคลาเทศ กฎหมาย




            ๕. T.F. May 5, 1976, 102 A.T.F. Ia (1976); 5 Y.B. Com. Arb. 217 (1980).




            52                                                               เล่มที่ ๒ ปีที่ ๖๕
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68