Page 67 - นิตยสารดุลพาห เล่มที่ ๒-๒๕๖๑-กฎหมาย
P. 67

ดุลพาห




                     อนุญาโตตุลาการกับการพิจารณาโดยเปิดเผย :

                                     จุดเปลี่ยนในอนาคต ?






                                                                      สุชาติ ธรรมาพิทักษ์กุล

                                                                      พิชญา ธรรมาพิทักษ์กุล




            บทนำ�


                     การอนุญาโตตุลาการกับการดำาเนินกระบวนการทางศาลมีความเกี่ยวข้องและ

            สัมพันธ์กันมาตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๗ ในยุคแรกสภาพบังคับของคำาชี้ขาดขึ้นอยู่กับเงื่อนไข
            ในข้อตกลงหรือคำามั่นสัญญา แต่กระบวนการที่ถือว่ามีประสิทธิภาพที่สุด น่าจะได้แก่การเริ่ม

            กระบวนการระงับข้อพิพาทด้วยการฟ้องคดีในศาล และโจทก์จำาเลยขอให้มีการชี้ขาด
                                                  ๑
            ข้อพิพาทบางประเด็นโดยอนุญาโตตุลาการ  ดังนั้น ในยุคแรกกระบวนการอนุญาโตตุลาการ
            จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ผูกแนบแน่นอยู่กับกระบวนพิจารณาของศาล ในทำานองเดียวกับที่บัญญัติ
            ไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๑๐  การที่คู่พิพาทฝ่ายที่ถูกชี้ขาด
                                                                 ๒
            ให้ชำาระหนี้แล้วไม่ปฏิบัติตามจึงเท่ากับฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำาพิพากษาของศาล ซึ่งย่อมนำาไปสู่
            การบังคับคดีตามกระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดีของศาลต่อไป


                     ในปัจจุบันการอนุญาโตตุลาการทางการค้าได้รับการส่งเสริมและพัฒนาไปอย่าง
            กว้างขวาง พ่อค้า นักธุรกิจนิยมเลือกใช้เพื่อระงับข้อพิพาทในระหว่างพ่อค้าด้วยกัน ทั้งการค้า

            ในระดับประเทศและระหว่างประเทศ ทั้งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในระดับสากลว่าการระงับ




            ๑. Lord Parker, The History and Development of Commercial Arbitration : Recent Development
              in the Supervisory Powers of the Courts over Inferior Tribunals : Lectures (Magnas Press,
              Hebrew University, 1959), pp 14.
            ๒. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง  มาตรา  ๒๑๐  บัญญัติว่า  “บรรดาคดีทั้งปวงซึ่งอยู่ในระหว่าง
              พิจารณาของศาลชั้นต้น  คู่ความจะตกลงกันเสนอข้อพิพาทอันเกี่ยวกับประเด็นทั้งปวงหรือแต่ข้อใดข้อหนึ่ง
              ให้อนุญาโตตุลาการคนเดียวหรือหลายคนเป็นผู้ชี้ขาดก็ได้ โดยยื่นคำาขอร่วมกันกล่าวถึงข้อความแห่งข้อตกลง
              เช่นว่านั้นต่อศาล  ถ้าศาลเห็นว่าข้อตกลงนั้นไม่ผิดกฎหมาย ให้ศาลอนุญาตตามคำาขอนั้น”.



            56                                                               เล่มที่ ๒ ปีที่ ๖๕
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72