Page 69 - นิตยสารดุลพาห เล่มที่ ๒-๒๕๖๑-กฎหมาย
P. 69

ดุลพาห




                     ๔. จากการที่คู่กรณีมีโอกาสเข้ามาตัดสินใจหรือทำาความตกลงในส่วนของกระบวน
            พิจารณาของอนุญาโตตุลาการนี้เอง ย่อมทำาให้คู่กรณีสามารถคาดเห็นถึงกระบวนการ

            อนุญาโตตุลาการการนำาเสนอพยานหลักฐานต่างๆ ตลอดจนระยะเวลาและค่าใช้จ่ายที่คาด

            หมายว่าจะต้องใช้ในการนั้นๆ จึงมีความยืดหยุ่นและทำาให้สามารถบริหารจัดการในส่วน
            ที่เกี่ยวกับกระบวนการพิจารณา ระยะเวลา และค่าใช้จ่ายได้ง่ายกว่าการดำาเนินคดีในศาล

            (procedure, time and cost) อย่างไรก็ดี ในความเป็นจริงจะเห็นว่าปัจจุบันมีการจัดตั้ง
            สถาบันด้านอนุญาโตตุลาการต่างๆ ขึ้นมามาก และแต่ละสถาบันต่างก็จะมีการวางกฎเกณฑ์

            หรือระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการอนุญาโตตุลาการในสถาบันของตนที่อาจแตกต่างกัน
            ในรายละเอียดต่างๆ ออกไป ทำาให้การบริหารจัดการด้านระยะเวลาและค่าใช้จ่ายกระทำาได้

            ไม่ง่ายตามหลักการนัก และในหลายกรณีไม่อยู่ในความควบคุมของคู่กรณี


            ก�รพิจ�รณ�โดยเปิดเผย : มองต่�งมุมหรือกระแสที่ย้อนกลับ

                     บทความนี้จะหยิบยกขึ้นพิจารณาและนำาเสนอปัญหาเฉพาะในเรื่องการรักษาความลับ

            อันเกิดจากการดำาเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่เปิดเผยของการอนุญาโตตุลาการว่าเป็นผลดีกว่า
            การดำาเนินกระบวนพิจารณาโดยเปิดเผยแบบคดีในศาลจริงหรือไม่ เพียงใด และโดยแท้จริง

            ก่อให้เกิดผลเสียหรือมีผลกระทบต่อกระบวนการทางอนุญาโตตุลาการเองในทางใดทางหนึ่ง
            หรือไม่ อีกทั้งควรหรือไม่ที่กระบวนพิจารณาของการอนุญาโตตุลาการจะกระทำาโดยเปิดเผย

            และคำาชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการนั้นควรได้รับเปิดเผย ตลอดจนตีพิมพ์เผยแพร่ต่อสาธารณชน
            ส่วนในประเด็นอื่นๆ นั้น ผู้เขียนจะนำาเสนอต่อไปเมื่อโอกาสอำานวย


                     ประการแรก กระบวนพิจารณาที่ไม่เปิดเผยต่อสาธารณชนนั้น ไม่ว่าจะมีเหตุผล

            รองรับมากน้อยเพียงใดก็เห็นได้ว่าการกระทำาที่มีผู้รู้เห็นและเกี่ยวข้องเพียงน้อยคนนั้น
            ย่อมนำาไปสู่ข้อกังขาเกี่ยวกับความโปร่งใส (transparency) ข้อที่ได้รับการวิพากษ์หนาหูขึ้น

            ก็คือปัจจุบันความโปร่งใสได้รับการเน้นในเกือบทุกมิติของระบบการบริหารจัดการเรื่องต่างๆ
            ไม่ว่าในภาครัฐหรือภาคเอกชน กระบวนการต่างๆ ที่เดิมเห็นกันว่าเป็นเรื่องภายในขององค์กร

            เริ่มถูกเรียกร้องให้มีการเปิดเผยวิธีการหรือข้อมูลมากขึ้น เช่น ข้อมูลข่าวสารของหน่วยงาน
                  ๕
            ของรัฐ ทั้งนี้ไม่ยกเว้นแม้กระทั่งองค์กรเอกชน เช่น บริษัทจำากัดก็ถูกสังคมระดับระหว่าง



            ๕. ดูพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๗, ๙ และ ๑๑.



            58                                                               เล่มที่ ๒ ปีที่ ๖๕
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74