Page 68 - นิตยสารดุลพาห เล่มที่ ๒-๒๕๖๑-กฎหมาย
P. 68

ดุลพาห




               ข้อพิพาททางการค้าโดยการอนุญาโตตุลาการ ที่ได้รับความนิยมจนขยายวงกว้างออกไป
               ในประเทศและภูมิภาคต่างๆ ของโลกนั้น ก็เนื่องมาจากการอนุญาโตตุลาการได้พัฒนา

               ข้อได้เปรียบบางประการที่การฟ้องร้องคดีกันในศาลไม่อาจสนองตอบได้


                        ในข้อที่ได้เปรียบกว่าการดำาเนินคดีทางศาลนั้น ที่เห็นได้ชัดและมักมีการกล่าวถึงกัน
               ทั่วไป ได้แก่

                        ๑. การที่คู่กรณีมีสิทธิเลือกหรือทำาความตกลงเกี่ยวกับกระบวนพิจารณาข้อพิพาท
               ของตน ตลอดจนเลือกบุคคลที่จะพิจารณาและชี้ขาดข้อพิพาทของตนด้วย ทำาให้ได้กระบวน

               พิจารณาที่คู่กรณีเห็นว่าเหมาะสมกับลักษณะข้อพิพาทของตน ตลอดจนได้บุคคลที่มีความรู้
               ความชำานาญในสาขาที่พิพาท (party autonomy)

                        ๒. กระบวนการพิจารณาข้อพิพาทในระบบอนุญาโตตุลาการ มีข้อแตกต่างที่สำาคัญ
               จากกระบวนพิจารณาของศาล คือ โดยประเพณีปฏิบัติในฐานะที่เป็นระบบการระงับข้อพิพาท

               ทางเลือกประการหนึ่งจะทำาการพิจารณาเป็นการลับ ในทำานองเดียวกับการไกล่เกลี่ยหรือ

               ประนอมข้อพิพาท  ที่ไม่เปิดเผยกระบวนพิจารณาโดยทั่วไปดังจะเห็นได้จากข้อบังคับของ
                                ๓
                                                                             ๔
               สถาบันอนุญาโตตุลาการต่างๆ ที่มักระบุให้ทำาการพิจารณาเป็นการลับ  ในขณะที่กระบวน
               พิจารณาในศาลจะเป็นตรงกันข้าม คือโดยทั่วไปจะดำาเนินกระบวนพิจารณาโดยเปิดเผย
               (confidentiality and non-publication)

                        ๓. การบังคับตามคำาชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการนั้นจากผลของอนุสัญญากรุงนิวยอร์ก
               ว่าด้วยการยอมรับการบังคับตามคำาชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ ๑๙๕๘ ซึ่งมีประเทศต่างๆ

               เป็นภาคีจำานวนมาก ทำาให้คำาชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการนอกจากสามารถบังคับได้ในประเทศ
               ที่ทำาคำาชี้ขาดแล้วยังสามารถบังคับได้ในประเทศต่างๆ ที่เป็นภาคีของอนุสัญญาฉบับดังกล่าว

               ด้วย ทำาให้คำาชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมีข้อได้เปรียบคำาพิพากษาของศาลอย่างเห็นได้ชัด
               เป็นรูปธรรม โดยเฉพาะในกรณีของการอนุญาโตตุลาการทางการค้าระหว่างประเทศ และ

               คู่กรณีมีกิจการหรือสินทรัพย์อยู่ในหลายประเทศ (enforcement)


               ๓.  Riskin, Westbrook, Guthrie, Reuben & Robbennolt, ‘Dispute Resolution and Lawyers, 3  Ed.
                                                                                          rd
                 Thomson West, 2005, pp 439.
               ๔. เช่น ข้อบังคับของสำานักงานศาลยุติธรรมว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ สถาบันอนุญาโตตุลาการ ข้อ ๓๖,
                 ข้อบังคับสถาบันอนุญาโตตุลาการว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ ข้อ ๕๐ และ UNCITRAL Art. 28.3 เป็นต้น
                 แต่ในข้อบังคับอนุญาโตตุลาการของสภาหอการค้าไทย และ ICC Rules of Arbitration กลับไม่ปรากฏ

                 ข้อบังคับในลักษณะดังกล่าว แต่กระบวนพิจารณาในทางปฏิบัติไม่แตกต่างกัน.


               พฤษภาคม - สิงหาคม ๒๕๖๑                                                      57
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73