Page 72 - นิตยสารดุลพาห เล่มที่ ๒-๒๕๖๑-กฎหมาย
P. 72

ดุลพาห




                        ในประการที่สาม เมื่อระบบการพิจารณาและคำาชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่มี
               หรือแทบไม่มีบทบาทในการสร้างบรรทัดฐานทางกฎหมายในประเด็นข้อพิพาท โดยเฉพาะ

               อย่างยิ่งประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับกฎหมายทางการค้า ผลที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือ

               การมองระบบอนุญาโตตุลาการว่าเป็นระบบที่แทบไม่มีส่วนในการพัฒนาหลักกฎหมายหรือ
               แนวคิดทางกฎหมายเกี่ยวกับการค้าเลย


                        อาจมีผู้แย้งว่าผลกระทบในลักษณะนี้ แม้หากจะมีอยู่จริงก็ไม่น่าจะมีนัยสำาคัญ
               เพราะเมื่อศาลยังคงพิจารณาคดีอย่างเปิดเผยคำาพิพากษาของศาลก็น่าจะเพียงพอที่จะยึดถือ

               เป็นแนวในการพัฒนาและวางแนวคิดทางกฎหมาย ข้อแย้งนี้อาจถูกต้องบางส่วน และอาจ
               เป็นจริงในข้อพิพาทอื่นๆ ที่มิใช่ข้อพิพาททางการค้า นอกจากนี้ในประเทศที่ใช้ระบบกฎหมาย

               ประมวล ผลกระทบก็อาจมีน้อยกว่าในประเทศที่ใช้ระบบคอมมอนลอว์ อย่างไรก็ดี ผลกระทบ
               ดังกล่าวควรได้รับการพิจารณาและวิเคราะห์เป็น ๒ ระดับ เพราะข้อพิพาททางการค้าระหว่าง

               พ่อค้าส่วนใหญ่จะเลือกระงับด้วยระบบการอนุญาโตตุลาการ ผลจากการนี้ทำาให้คดีพิพาท

               ทางการค้าที่จะฟ้องร้องพิพาทกันในศาลโดยตรงลดน้อยลงไปในจำานวนตัวเลขที่สัมพันธ์กัน
               หากมีกรณีพิพาททางการค้าปีละ ๑๐๐ เรื่อง และในจำานวนนี้เป็นข้อพิพาทที่คู่กรณีระบุ

               ในสัญญาทางการค้าให้เสนอต่ออนุญาโตตุลาการถึงร้อยละ ๘๐ ก็จะมีคดีพิพาทที่ขึ้นสู่การ
               พิจารณาของศาลโดยตรงเพียง ๒๐ คดีต่อปีเท่านั้น จึงเห็นได้ว่าความคาดหวังว่าศาลจะเป็น

               ผู้มีบทบาทในการพัฒนาหรือสร้างกฎหมายจากคดีพิพาททางการค้าเหล่านี้ก็จะลดลงไปตาม
               จำานวนคดีที่ขึ้นสู่ศาลน้อยลง


                        ประการสุดท้าย สิ่งที่หลายฝ่ายกังวลเริ่มปรากฏให้เห็น และถูกวิจารณ์ว่าเป็น
               ผลจากการพยายามผลักดันและส่งเสริมให้ข้อพิพาททางการค้าได้รับการระงับโดยการ

               อนุญาโตตุลาการยิ่งกว่าทางศาล ทำาให้บรรดาสัญญาขนาดใหญ่หรือสัญญาที่มีเนื้อหาข้อตกลง

               และเงื่อนไขต่างๆ ซับซ้อน ล้วนแต่มีข้อสัญญาให้ระงับข้อพิพาททางการค้าอันเกิดจากสัญญา
               เหล่านั้นโดยการอนุญาโตตุลาการเกือบทั้งสิ้น ทำาให้โอกาสที่ศาลจะรับรู้หรือเข้าไปมีบทบาท

               พิจารณาพิพากษาหรือวางหลักกฎหมายในข้อพิพาทที่ซับซ้อนเหล่านั้นแทบไม่มีเลยหรือหากมี
               (เช่นในกรณีฝ่ายหนึ่งฟ้องศาลขอให้เพิกถอนคำาชี้ขาด) ก็น้อยลงมาก ๙



               ๙. ดูปาฐกถาของ Lord Thomas of Cwmgiedd. ‘Developing Commercial law though the Courts;
                 rebalancing the relationship between the courts and arbitration’ (Speech delivered at the BAILII
                 Lecture 2016, 9 March 2016, London)  ซึ่งเรียกร้องให้คืนข้อพิพาททางการค้ากลับมาให้ศาลพิจารณา.


               พฤษภาคม - สิงหาคม ๒๕๖๑                                                      61
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77