Page 73 - นิตยสารดุลพาห เล่มที่ ๒-๒๕๖๑-กฎหมาย
P. 73
ดุลพาห
ไม่เพียงแต่เท่านั้น แม้ในสัญญาขนาดกลางหรือกระทั่งสัญญาขนาดย่อยที่ผู้ประกอบ
การทำากับผู้บริโภครายบุคคล ที่มีราคาค่างวดของธุรกิจเป็นเพียงหลักหมื่นหรือหลักพันบาท
ก็เริ่มได้รับความนิยมใส่ข้อสัญญาผูกมัดให้คู่กรณีต้องเสนอข้อพิพาทสู่การพิจารณาและชี้ขาด
ของอนุญาโตตุลาการแทนการฟ้องศาล อันเป็นผลโดยตรงจากการส่งเสริมผลักดันให้ใช้
๑๐
การระงับข้อพิพาททางเลือกดังกล่าวข้างต้น จนเกิดข้อกังวลใหม่ขึ้นในวงการนักกฎหมายว่า
เป็นการไปไกลจนเลยเถิดไปหรือไม่ และเกรงกันว่าหากปล่อยให้เป็นเช่นนี้โดยไม่มีกรอบ
ที่ชัดเจนก็อาจสร้างความกดดันแก่บางกลุ่มบางฝ่ายจนทำาให้กระบวนการระงับข้อพิพาท
กลายเป็นสิ่งที่รับกันไม่ได้ และอาจเป็นเหตุให้ภาครัฐต้องเข้าแทรกแซง ออกกฎหมายเซทซีโร่
ทำาให้ทุกฝ่ายอาจต้องกลับมาตั้งต้นใหม่ที่ศาลกันอีกครั้ง
บทส่งท้�ย
จากข้อวิพากษ์ตลอดจนข้อแย้งเกี่ยวกับการดำาเนินกระบวนพิจารณาการ
อนุญาโตตุลาการโดยไม่เปิดเผยตามที่ถือเป็นหลักหรือจารีตมาช้านานดังที่ได้เสนอมาข้างต้น
จะเห็นได้ว่า การพิจารณาประเด็นปัญหาต่างๆ เพียงด้านเดียว เรามักจะเห็นแต่เพียงด้านดี
ของสิ่งเหล่านั้น และคนส่วนใหญ่จะคล้อยตามแนวปฏิบัติที่ถือตามกันมา แต่จากข้อวิพากษ์
วิจารณ์ถึงผลกระทบที่อาจเกิดจากการพิจารณาโดยไม่เปิดเผย เพื่อรักษาความลับของคู่กรณี
ที่อาจไม่ประสงค์จะให้ล่วงรู้ถึงสาธารณชนอาจเป็นสาเหตุให้เกิดผลที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อน
ทำาให้ผลลัพธ์ที่เคยเห็นกันว่าเป็นความเหมาะสมและเป็นธรรมนั้น กลายเป็นไม่เหมาะสมและ
ไม่เป็นธรรมไปได้
ผู้เขียนเองที่นำาเสนอแนวคิดนี้มิได้มีอคติต่อกระบวนการอนุญาโตตุลาการ ตรงกันข้าม
ยังคงมีความเห็นว่าการอนุญาโตตุลาการยังน่าจะเป็นทางเลือกเพื่อการระงับข้อพิพาทที่ดีเท่าที่
๑๐. CR Leslie, The Arbitration Boon Strap (2015), 94 Texas Law Review, pp 266 บทความนี้
นำาเสนอข้อเท็จจริงที่น่าสนใจโดยชี้ให้เห็นว่า จากผลที่รัฐออกกฎหมาย (Federal Arbitration Act 1925)
มาสนับสนุนการอนุญาโตตุลาการของสหรัฐอเมริกา ซึ่งจำากัดการแทรกแซงของศาล ทำาให้บริษัทหลายแห่ง
ในสหรัฐอเมริกา ฉวยโอกาสระบุข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการไว้ในสัญญาซื้อขายและบริการเกือบทุกระดับ
รวมทั้งสัญญาซื้อขายซอฟท์แวร์และซื้อขายโทรศัพท์มือถือ ทำาให้ผู้บริโภคเสียเปรียบจากการที่ไม่มีโอกาส
เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางศาล ผู้สนใจอาจศึกษาจากคดี AT&T Mobility LLC v Conception,
31 S Ct 1740 (2011); D’Antuono v Service Road Corp (2011) 789 F Supp 2d 308; และ
American Express Co v Italian Colours Restaurant 133 S Ct 2304 (2013) เป็นต้น.
62 เล่มที่ ๒ ปีที่ ๖๕