Page 77 - นิตยสารดุลพาห เล่มที่ ๒-๒๕๖๑-กฎหมาย
P. 77
ดุลพาห
ฝ่ายรัฐบาลอาจจะดีในแง่การพยายามรักษาประโยชน์ของผู้ที่แต่งตั้งตนถ้าไม่ถึงกับเสียความ
เป็นกลาง รัฐบาลจึงควรตระหนักในข้อคุณสมบัติของอนุญาโตตุลาการของรัฐบาลไทยด้วย
อนึ่ง ต้องเข้าใจด้วยว่าคดีอนุญาโตตุลาการก็เหมือนคดีทั่วไปคือข้อเท็จจริงเป็นเรื่องสำาคัญมาก
คดีก่อสร้างมักจะยุ่งยากซับซ้อนไปด้วยปัญหาวิศวกรรมและปัญหาเทคโนโลยีต่างๆ การแต่งตั้ง
คนที่รู้กฎหมายเป็นหลักน่าจะไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องในการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการฝ่ายรัฐบาลก็ตาม
ต้องคำานึงว่าผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ที่รู้ลึกในเรื่องข้อเท็จจริง เพื่อจะได้สามารถพูดจาโน้มน้าว
อนุญาโตตุลาการคนกลางได้ ประการที่สาม การบริหารสัญญาในอดีตรัฐบาลไทยมักจะไม่ค่อย
ได้ใส่ใจเอกสารหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวกับการติดต่อดำาเนินสัญญามักไม่ได้มีการจัดเก็บอย่างเป็น
ระบบซึ่งต้องกระทำาลงโดยเจ้าหน้าที่บริหารสัญญาที่ทำาหน้าที่เต็มเวลาจนกว่าสัญญาจะสิ้นสุด
ลง หน่วยราชการคือกรมกองต่างๆ หรือแม้กระทั่งรัฐวิสาหกิจก็ไม่ค่อยถนัดในเรื่องการบริหาร
สัญญา ในชั้นที่สุดเมื่อมีข้อพิพาทหน่วยงานของรัฐมักไม่สามารถนำาพยานหลักฐานสำาคัญเข้าสู่
คดีได้อย่างรวดเร็วหรือนำามาไม่ได้เลย พลอยทำาให้ผู้ตัดสินคดีมีความรู้สึกว่ารัฐบาลไทยไม่ค่อย
ให้ความร่วมมือในที่สุดส่งผลให้คำาชี้ขาดไม่เป็นผลดีต่อรัฐบาลไทย
ในสัญญาราคาแพงมักต้องมีการกู้เงินจากกลุ่มธนาคารต่างประเทศ ผู้ให้กู้จึงมัก
กำาหนดเงื่อนไขว่า สัญญาต้องทำาเป็นภาษาอังกฤษ กระบวนการระงับข้อพิพาทก็มักจะ
กำาหนดว่าต้องใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการเพราะสามารถใช้ผู้เชี่ยวชาญตัดสินปัญหา
ข้อเท็จจริงซึ่งเป็นคุณลักษณะสำาคัญของกระบวนการอนุญาโตตุลาการ ไม่ว่ารัฐบาลไทยจะมี
ท่าทีอย่างไรต่อกระบวนการอนุญาโตตุลาการคู่สัญญาก็จะคำานวณราคาสัญญาโดยเผื่อเหลือ
เผื่อขาด ในกรณีเกิดความยุ่งยากต่างๆ ในการดำาเนินคดี ตลอดจนการบังคับคดีในชั้นที่สุด
ผลร้ายก็จะตกอยู่แก่ประชาชนคนไทยเพราะต้องใช้บริการต่างๆ ตามสัญญาเหล่านั้นในราคา
ที่แพงกว่าที่ควร หากรัฐบาลไทยปรับปรุงการบริหารสัญญาและไม่แสดงท่าทีที่เป็นปฏิปักษ์ต่อ
กระบวนการอนุญาโตตุลาการ แต่หันมาจรรโลงกระบวนการอนุญาโตตุลาการในประเทศไทย
ให้เข้มแข็งใกล้เคียงกับที่ประเทศสิงคโปร์มีอยู่ โอกาสที่กระบวนการอนุญาโตตุลาการจะเกิดขึ้น
ในประเทศไทยก็จะมีมากขึ้น เพราะแท้ที่จริงของสาระของกระบวนการอยู่ที่ปัจจัยต่างๆ
ซึ่งรัฐบาลน่าจะมีบทบาทส่งเสริมได้มากไม่ว่าจะเป็นเรื่องกฎหมายกับข้อบังคับสำานักงาน
บริหารคดีอนุญาโตตุลาการหรือแม้กระทั่งคุณภาพของทนายความ
66 เล่มที่ ๒ ปีที่ ๖๕