Page 58 - นิตยสารดุลพาห เล่มที่ ๒-๒๕๖๑-กฎหมาย
P. 58

ดุลพาห




               ร่างพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ (ฉบับที่...) พ.ศ. ... ทั้งนี้ สำานักงานศาลยุติธรรมได้จัด
               ให้มีการรับฟังความคิดเห็นและได้นำาข้อมูลและผลการรับฟังความคิดเห็นมาใช้ประกอบการ

               พิจารณา ซึ่งในส่วนของสภาทนายความฯ นั้น ในเอกสารสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นระบุว่า

               “สภาทนายความมีหนังสือ ที่ สท. ๐๑๔/๒๕๔๕ ลงวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๘ แจ้งว่า สภา
               ทนายความได้รับการประสานงานจากคณะทำางานพิจารณายกร่างกฎหมายของสำานักงาน

               ศาลยุติธรรม ตั้งแต่ในขั้นตอนการยกร่างกฎหมายแล้ว และได้ร่วมพิจารณาปรับปรุง
               หลักการและบทมาตราที่จะต้องเพิ่มเติม จึงเห็นด้วยกับร่างฯ ตามที่สำานักงานศาลยุติธรรม

               เสนอ” อย่างไรก็ตาม เมื่อร่างฯ ดังกล่าวผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว
               ก็อาจจะต้องมีการรับฟังความเห็นอีกครั้งหนึ่งตามที่กำาหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ



               แนวคิด


                        การระงับข้อพิพาททางพาณิชย์โดยอนุญาโตตุลาการมีประวัติความเป็นมายาวนาน
               พอสมควร แนวคิดเรื่องอนุญาโตตุลาการต่างประเทศได้ฝังรากอยู่ในความตกลงระหว่าง

               ประเทศหลายฉบับรวมถึงอนุสัญญาฉบับนครนิวยอร์ก ค.ศ. 1958 ว่าด้วยการยอมรับนับถือ
               และบังคับตามคำาชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ โดยอนุสัญญาฉบับดังกล่าวใช้คำาว่า

               “คำาชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ” มิได้ใช้คำาว่า “คำาชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ
               ระหว่างประเทศ” ทั้งนี้ เพราะลักษณะของการระงับข้อพิพาททางพาณิชย์โดยอนุญาโตตุลาการ

               นั้นจะต้องกระทำาในดินแดนของประเทศใดประเทศหนึ่ง ซึ่งแต่ละประเทศก็มีกฎหมาย
               อนุญาโตตุลาการของประเทศของตนเองใช้บังคับอยู่ จึงมีความจำาเป็นที่จะต้องกำาหนดว่าการ

               ดำาเนินการทางอนุญาโตตุลาการเป็นไปตามกฎหมายแห่งท้องถิ่นหรือไม่ ที่เรามักจะเรียกกันว่า

               lex loci arbitri แต่เนื่องจากในอดีตนั้นกฎหมายอนุญาโตตุลาการของแต่ละประเทศมีความ
               แตกต่างกันอย่างมาก จึงมีความจำาเป็นที่จะต้องทำากฎหมายอนุญาโตตุลาการให้มีความ

               ใกล้เคียงกันหรือเป็นไปในแนวทางเดียวกัน จึงมีการจัดทำาความตกลงระหว่างประเทศที่เรียก
               ว่า Geneva Protocol on Arbitration Clauses 1923 พิธีสารฉบับนี้กำาหนดให้ประเทศภาคี

               มีพันธกรณีที่จะต้องยอมรับข้อตกลงระหว่างคู่พิพาทที่จะมอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการ
                                                                                      ๑
               ชี้ขาด ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันพิธีสารฉบับนี้ เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1930   และได้



               ๑. https://treaties.un.org/Pages/LONViewDetails.aspx?src=LON&id=547&chapter=30&clang=_en.




               พฤษภาคม - สิงหาคม ๒๕๖๑                                                      47
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63