Page 57 - นิตยสารดุลพาห เล่มที่ ๒-๒๕๖๑-กฎหมาย
P. 57
ดุลพาห
กฎหมายไทยกับการส่งเสริมอนุญาโตตุลาการ
ข้อพิพาททางพาณิชย์
อนันต์ จันทรโอภากร*
คำ�นำ�
เมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑ คณะรัฐมนตรีได้มีการประชุมปรึกษาและมี
มติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ (ฉบับที่...) พ.ศ. ... ตามที่สำานักงาน
ศาลยุติธรรมเสนอ และให้ส่งสำานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้พิจารณา
ในประเด็นปัญหาและความสอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องตามความเห็นของสำานักงาน
คณะกรรมการกฤษฎีกา และให้รับความเห็นของสำานักงานอัยการสูงสุดไปประกอบการ
พิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาก่อนเสนอ
สภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป นอกจากนี้ยังได้มีมติมอบหมายให้สำานักงานศาลยุติธรรมรับ
ความเห็นของกระทรวงพาณิชย์ไปพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวได้เข้าสู่การพิจารณา
ของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ซึ่งประกอบด้วย ๑. นายกมลชัย รัตนสกาวงศ์
๒. นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ ๓. นายพชร ยุติธรรมดำารง ๔. นายไพโรจน์ วายุภาพ ๕. นายวิศิษฏ์
วิศิษฏ์สรอรรถ ๖. นางสุดา วิศรุตพิชญ์ ๗. นายโสภณ รัตนากร ๘. นายอนันต์ จันทรโอภากร
โดยมีรองเลขาธิการสำานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา คือ นายวรรณชัย บุญบำารุง ร่วมอยู่ด้วย
ในคณะกรรมการชุดนี้ คณะกรรมการได้ขอเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าชี้แจงในการจัดทำา
* ศาสตราจารย์สาขากฎหมายแพ่ง คณะกรรมการบริหารศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีนสิรินธร, อดีตผู้อำานวยการ
โครงการหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิตสาขากฎหมายธุรกิจ ภาคภาษาอังกฤษ, คณะนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท สำานักงานคณะกรรมการ
กฤษฎีกา คณะกรรมการกฤษฎีกา, ผู้บรรยาย (ภาคค่ำา) สำานักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา,
ผู้บรรยายหลักสูตรวิชาชีพชั้นสูง สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์.
46 เล่มที่ ๒ ปีที่ ๖๕