Page 315 - รวมกฎหมายยาเสพติด 2563
P. 315

พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒
  303


                     
    (๑) พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พระพุทธศักราช ๒๔๖๕
                          (๒) พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๔๗๙
                          (๓) พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๐๒
                          (๔) พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๐๔

                          (๕) พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๑๘
                          (๖) พระราชบัญญัติกันชา พุทธศักราช ๒๔๗๗

                          (๗) พระราชบัญญัติพืชกระท่อม พุทธศักราช ๒๔๘๖
                     
    มาตรา ๔  ในพระราชบัญญัตินี้
                                (๔)  “ยาเสพติดให้โทษ” หมายความว่า สารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดย
                     รับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้ว ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญ เช่น

                     ต้องเพิ่มขนาดการเสพขึ้นเป็นลำดับ มีอาการถอนยาเมื่อขาดยา มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจ
                     อย่างรุนแรงตลอดเวลา และสุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรมลง กับให้รวมตลอดถึงพืชหรือส่วนของพืชที่เป็นหรือ
                     ให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษหรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษและสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติด

                                                                   (๕)
                     ให้โทษด้วย ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา  แต่ไม่หมายความถึงยาสามัญประจำบ้าน
                     บางตำรับตามกฎหมายว่าด้วยยาที่มียาเสพติดให้โทษผสมอยู่
                          “ผลิต” หมายความว่า เพาะ ปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูป สังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์

                     และให้หมายความรวมตลอดถึงการแบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุด้วย
                          “จำหน่าย” หมายความว่า ขาย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน ให้
                          “นำเข้า” หมายความว่า นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร

                          “ส่งออก” หมายความว่า นำหรือส่งออกนอกราชอาณาจักร
                                (๖)  “เสพ” หมายความว่า การรับยาเสพติดให้โทษเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใด
                                (๗)  “ติดยาเสพติดให้โทษ” หมายความว่า เสพเป็นประจำติดต่อกันและตกอยู่ในสภาพที่จำเป็นต้องพึ่ง
                     ยาเสพติดให้โทษนั้น โดยสามารถตรวจพบสภาพเช่นว่านั้นได้ตามหลักวิชาการ

                                (๘)  “หน่วยการใช้” หมายความว่า เม็ด ซอง ขวด หรือหน่วยอย่างอื่นที่ทำขึ้นซึ่งโดยปกติสำหรับการใช้
                     เสพหนึ่งครั้ง
                                (๙)  “การบำบัดรักษา” หมายความว่าการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดให้โทษ ซึ่งรวมตลอดถึงการฟื้นฟู

                     สมรรถภาพและการติดตามผลหลังการบำบัดรักษาด้วย





                     (๔)     ข้อความเดิมถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๘ มาตรา ๔ และให้ใช้ข้อความที่พิมพ์ไว้นี้แทน
                     (๕)     ดูประกาศกระทรวงสาธารณสุข
                     (๖)     ข้อความเดิมถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๐ มาตรา ๓ และให้ใช้ข้อความที่พิมพ์ไว้นี้แทน
                     (๗)     บทนิยามคำว่า “ติดยาเสพติดให้โทษ” เพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๐ มาตรา ๔
                     (๘)    บทนิยามคำว่า “หน่วยการใช้” เพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๓
                     (๙)     บทนิยามคำว่า “การบำบัดรักษา” เพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๐ มาตรา ๔








       ��� 6���.P302-391.indd   303                                                                3/4/20   5:47:42 PM
   310   311   312   313   314   315   316   317   318   319   320